Last updated: 19 ต.ค. 2566 | 5499 จำนวนผู้เข้าชม |
มรดกคือ อะไร?
**ส่วนหนี้สินก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทด้วยเช่นกัน แต่ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
บุคคลที่มีสิทธิรับมรดก
๑. ทายาทโดยธรรม
ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน (รวมทั้งบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมด้วย)
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกเช่นกัน โดยสามีภริยาที่ร้างกัน หรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกันและกัน
๒. ผู้รับพินัยกรรม
ความหมายของผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดก คือ บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก โดยสิทธิตามกฎหมายในฐานะทายาทโดยธรรม หรือโดยพินัยกรรม ในฐานะผู้รับพินัยกรรม เพื่อทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งมรดกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย
เหตุที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
๑. เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่ต่างประเทศ หรือเป็นผู้เยาว์
๒. เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทโดยธรรมไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือแบ่งมรดก
๓. เมื่อข้อกำหนดตามพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
๑. ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก
๒. ผู้มีส่วนได้เสียในมรดก
๓. พนักงานอัยการ
คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
๑. บรรลุนิติภาวะ (มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์)
๒. ไม่เป็นคนวิกลจริต
๓. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
๔. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
หน้าที่ของผู้จัดการมรดก
*** หากผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ เช่น ปิดบังมรดกต่อทายาท หรือเพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก หรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่าง อื่นที่สมควรก็ได้
เอกสารที่ใช้ร้องขอจัดการมรดก
๑.กรณีบุตรกับบิดา / มารดา หรือบิดา / มารดากับบุตร
๑.๑ ใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่าของบิดา มารดา ( กรณีสูญหายใช้ สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ข้อมูลทะเบียนครอบครัว หรือ ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว หรือสำเนาทะเบียนการหย่า ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน)
๑.๒ สูติบัตรของบุตร ( กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียนคนเกิด หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนเกิดที่รับรองสำเนาถูกต้องโดย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรที่มีเลขประจำตัวประชาชนของบิดา หรือมารดา (กรณีไม่มีเลขประจำตัวของบิดาหรือมารดาให้ติดต่อสำนักงานเขตตามสำเนาทะเบียนบ้านของบุตรเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้ หรือ ทะเบียนการรับรองบุตร หรือ ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
๑.๓ บัตรประจำตัวของผู้ร้องและผู้ตาย
๑.๔ มรณบัตรของผู้ตายหรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนตายของผู้ตาย
๑.๕ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร
๑.๖ หลักฐานเกี่ยวกับมรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด เงินฝากในธนาคาร ปืน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หุ้น (กรณีที่ดิน หรือห้องชุดสูญหายหรือจดทะเบียนจำนองไว้ ใช้สำเนาโฉนดที่ดินหรือสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) สมุดคู่ฝากของธนาคาร คู่มือรายการจดทะเบียน รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ใบหุ้น ใบอนุญาตให้มี และใช้อาวุธปืน (กรณีสูญหายใช้สำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน)
๑.๗ บัญชีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
๑.๘ หนังสือให้ความยินยอมของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวที่รับรอง สำเนาถูกต้องโดยทายาทดังกล่าว (กรณีทายาทเป็นผู้เยาว์ใช้สูติบัตร)
๑.๙ มรณบัตรของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เช่น บิดา มารดา คู่สมรส บุตร
๑.๑๐ หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล ของผู้ร้อง หรือผู้ตาย หรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
๒. กรณีคู่สมรส
๒.๑ ใบสำคัญการสมรสของผู้ตาย (กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ข้อมูลทะเบียนครอบครัว หรือ ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว)
๒.๒ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐
๓. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
๓.๑ สูติบัตรของผู้ร้องและผู้ตาย (กรณีสูญหายใช้ สำเนาทะเบียนคนเกิด หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนเกิด ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) หรือ
๓.๒ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้องและผู้ตายที่มีเลขประจำตัวประชาชนของบิดา และมารดา
๓.๓ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐
๔. ผู้รับพินัยกรรมหรือผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม
๔.๑ พินัยกรรม
๔.๒ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐
หากคุณมีปัญหาและต้องการคำปรึกษาด้านกฎหมาย เพิ่มเติม
ติดต่อได้ที่ ทนายภูวรินทร์ ทองคำ โทร.081-9250-144
E-Mail : Phuwarinlawyer@hotmail.com
http://www.phuwarinlawyer.com/
ข้อมูลบางส่วนจากศาลแพ่ง คณะจัดการพิเศษ (งานจัดการมรดก) โทร.02-541 2505, 02-512 8228
27 ก.พ. 2560
6 เม.ย 2560
27 ก.พ. 2560