นายสุพล สุบินยัง
คดีลักทรัพย์ (2718 อ่าน)
26 ต.ค. 2558 16:04
1.กรณีมีคนไปรื้อบ้านของเรา(นาย ก.) แล้วนำไม้ที่รื้อได้ ไปสร้างบ้าน
ของตนเอง (นาย ข.) โดยเจ้าของบ้านไม่ยินยอมและไม่ทราบ เป็นคดีลักทรัพย์หรือไม่
2.เนื่องจากเจ้าบ้านไปทำงานที่กรุงเทพ ได้พบเพื่อนที่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน
แจ้งเจ้าของบ้าน(นาย ก.) ว่า นาย ข.ได้รื้อบ้าน (นายก ก.) แล้วเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2548
แต่นาย ก.เพิ่งทราบว่านาย ข.รื้อบ้านนาย ก นาย ก. จะแจ้งความว่านาย ข.ลักทรัพย์(รื้อบ้าน)
ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 ถือว่าคดีขาดอายุความหรือยัง แล้วจะแจ้งความวันไหนที่ไม่หมดอายุความ
3.สามารถให้เพื่อนนาย ก.เป็นพยานว่าเห็นนาย ข.รื้อบ้านจริง ในเวลาดังข้างต้น เพื่อน นาย ก.เป็นพยานบุคคลได้หรือไม่ เพราะไม่มีพยานเอกสาร มีเพียงสำเนาทะเบียนบ้าน ที่ระบุว่า นาย ก.เป็นเจ้าบ้าน
4.คดีลักทรัพย์ เป็นคดีที่ยอมความกันได้หรือไม่
5.บ้านนาย ก. สร้างบ้านในที่ดิน น.ส.3 ก.ของนาย ข.นาย ข.บอกว่าเขาสามารถรื้อบ้านของนาย ก.ได้ ไม่ผิดกฎหมาย จริงหรือไม่ (นาย ก.สร้างบ้านในที่ดินของนาย ข.เกิน 10 ปีแล้ว):R:
นายสุพล สุบินยัง
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
28 ต.ค. 2558 09:30 #1
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า คำว่า "เจ้าบ้าน" ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ไม่ได้หมายความว่า เจ้าบ้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตัวบ้าน ใครจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตัวบ้านให้ดูที่ โฉนดที่ดินว่าใครเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะซื้อที่ดินมาหรือได้รับโอนทางมรดก ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินย่อมเป็นเจ้าของบ้านไปด้วยตามหลักกฎหมายเรื่องส่วนควบ หรือดูที่ใครเป็นผู้สร้างบ้านหลังนั้นเป็นหลัก
1. หากคุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านตามที่กล่าวมา ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยนิตินับที่จะดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดได้
2. คดีลักทรัพย์ มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันกระทำผิด การแจ้งความก็ต้องแจ้งก่อนคดีขาดอายุความ
3. การแจ้งความก็ต้องแจ้งให้ตำรวจทราบว่ามีพยานบุคคลรู้เห็นด้วยเพื่อสอบปากคำในฐานะพยาน
4. คดีลักทรัพย์เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ไม่สามารถยอมความได้ แต่เจรจาชดใช้ค่าเสียหายกันได้
5. การที่นาย ข. ยินยอมให้นาย ก. สร้างบ้าน บ้านย่อมไม่ตกเป็นส่วนควบกับที่ดิน แต่นาย ก. จะมีพยานหลักฐานอะไรมายืนยันว่าปลูกบ้านโดยได้รับอนุญาตจากนาย ข. เพราะนาย ข. ย่อมโต้แย้งว่าเป็นบ้านของเขาที่มีสิทธิรื้อถอนได้ เนื่องจากเวลาผ่านมานานเกือบสิบปีแล้ว นาย ก. ก็ไม่เคยมาโต้แย้งหรือแสดงความเป็นเจ้าของ จะอ้างว่าไปอยู่ต่างจังหวัด แต่ไม่เคยกลับมาดูแลเลยก็ย่อมเป็นพิรุธน่าสงสัยได้ ส่วนนาย ก. จะอ้างว่าปลูกสร้างมาบนที่ดินของนาย ข.เกิน 10 ปี เพื่อให้ได้สิทธิ์โดยทางปรปักษ์ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ใช่ที่ดินที่ออกโฉนด กรณีนี้จึงเป็นเรื่องที่โต้แย้งหรือแย่งสิทธิการครอบครองกันมากกว่า ใครครอบครองอยู่คนนั้นย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
ผู้ดูแล
สุภาพร
11 เม.ย 2560 11:57 #2
ดิฉันได้ลักทรัพคือโทรศัพท์มือถือของเพื่อนร่วมงานแต่ตอนนี้ดิฉันหนีคดีอยู่อยากทราบว่า
1.ถ้าดิฉันอยากมอบตัวต้องทำอย่างไรค่ะ
2.แล้วจะติดคุกในวันที่มอบตัวเลยไหมค่ะ
3.จะประกันตัวได้ไหมค่ะ แล้วต้องใช้เงินประกันเท่าไร
4.ดิฉันสามารถทำบัตรประชนได้ไหมค่ะ
สุภาพร
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
12 เม.ย 2560 23:38 #3
ตอบคำถามคุณสุภาพร
1. อยากมอบตัวต้องไปมอบกับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจที่มีการแจ้งความดำเนินคดี ไม่มีพิธีการอะไร แค่ทำใจยอมรับผลกรรมที่ก่อไว้เท่านั้นเอง
2. เมื่อมอบตัว ตำรวจจะนำตัวไปฝากขังที่ศาล หากไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวก็ต้องถูกควบคุมตัวในเรือนจำระหว่างการพิจารณาคดี
3. ทุกคดีสามารถยื่นขอประกันตัวได้หมด แต่ดุลพินิจในการให้ประกันเป็นอำนาจของศาล ซึ่งคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์สามารถประกันตัวได้ ราคาประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท (เป็นจำนวนขั้นต่ำเท่านั้น หากต้องการทราบแน่นอนต้องสอบถามที่งานประชาสัมพันธ์ของศาลเท่านั้น)
4. สามารถทำได้
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
ผู้ดูแล