ข้าราชการชั้นผู้น้อย

ข้าราชการชั้นผู้น้อย

ผู้เยี่ยมชม

  กรณีนี้ฟ้องหย่าได้มั้ยครับ (1058 อ่าน)

20 ธ.ค. 2557 14:52

ขอสอบถามอาจารย์หน่อยครับ คือ ภรรยา ผม ไม่ยอมทำงานน่ะครับ แล้ว ยังชอบเอาแต่เที่ยวเตร่กลางคืนกับเพื่อนฝูง อาชีพผมรับราชการเงินเดือนน้อย ทำให้สภาพทางการเงินเริ่มเป็นหนี้สิน เมื่อสอบถามเรื่องการงานก็บ่ายเบี่ยงตลอด ผมจะทำอย่างไรดีครับ อาจารย์แนะนำหน่อยครับ

ข้าราชการชั้นผู้น้อย

ข้าราชการชั้นผู้น้อย

ผู้เยี่ยมชม

ข้าราชการชั้นผู้น้อย

ข้าราชการชั้นผู้น้อย

ผู้เยี่ยมชม

20 ธ.ค. 2557 15:56 #1

ปล.เรื่องหนี้สินผมใช้เองได้ครับ แต่ไม่อยากหใ้มันเพิ่มขึ้นมากไปกว่านี้

ข้าราชการชั้นผู้น้อย

ข้าราชการชั้นผู้น้อย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

26 ธ.ค. 2557 20:08 #2

กฎหมายอ้างอิง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๑๕๑๖ บัญญัติว่า
            เหตุฟ้องหย่า มีดังต่อไปนี้
                    (๑) สามีหรือภริยา อุปการะเลี้ยงดู หรือ ยกย่อง ผู้อื่น ฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้ หรือ มีชู้ หรือ ร่วมประเวณีกับ ผู้อื่น เป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๒) สามีหรือภริยา ประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้น จะเป็นความผิดอาญา หรือไม่ ถ้า เป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
                            (ก) ได้รับ ความอับอายขายหน้า อย่างร้ายแรง
                            (ข) ได้รับ ความดูถูกเกลียดชัง เพราะเหตุที่ คงเป็น สามีหรือภริยา ของฝ่ายที่ประพฤติชั่ว อยู่ต่อไป หรือ
                            (ค) ได้รับ ความเสียหาย หรือ เดือนร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ
                    อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๓) สามีหรือภริยา ทำร้าย หรือ ทรมาน ร่างกายหรือจิตใจ หรือ หมิ่นประมาท หรือ เหยียดหยาม อีกฝ่ายหนึ่ง หรือ บุพการี ของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้า เป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๔) สามีหรือภริยา จงใจละทิ้งร้าง อีกฝ่ายหนึ่งไป เกิน หนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๔/๑) สามีหรือภริยา ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุด ให้จำคุก และ ได้ถูกจำคุกเกิน หนึ่งปี ในความผิด ที่อีกฝ่ายหนึ่ง มิได้มีส่วน ก่อให้เกิด การกระทำความผิด หรือ ยินยอม หรือ รู้เห็นเป็นใจ ในการกระทำความผิดนั้นด้วย และ การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับความเสียหาย หรือ เดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๔/๒) สามีและภริยา สมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ได้โดยปกติสุข ตลอดมาเกิน สามปี หรือ แยกกันอยู่ ตามคำสั่งของศาล เป็นเวลาเกิน สามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๕) สามีหรือภริยา ถูกศาลสั่งให้เป็น คนสาบสูญ หรือ ไปจาก ภูมิลำเนา หรือ ถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาเกิน สามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๖) สามีหรือภริยา ไม่ให้ ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู อีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือ ทำการเป็นปฏิปักษ์ ต่อการที่เป็น สามีหรือภริยากัน อย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้า การกระทำนั้น ถึงขนาดที่ อีกฝ่ายหนึ่ง เดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๗) สามีหรือภริยา วิกลจริต ตลอดมาเกิน สามปี และ ความวิกลจริตนั้น มีลักษณะ ยากจะหายได้ กับทั้ง ความวิกลจริต ถึงขนาดที่จะ ทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๘) สามีหรือภริยา ผิดทัณฑ์บน ที่ทำให้ไว้ เป็นหนังสือ ในเรื่อง ความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๙) สามีหรือภริยา เป็นโรคติดต่อ อย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัย แก่อีกฝ่ายหนึ่ง และ โรคมีลักษณะ เรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๑๐) สามีหรือภริยา มีสภาพแห่งกาย ทำให้ สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณี ได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้

            การฟ้องหย่าจะต้องอ้างเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น กรณีที่ภรรยาไม่ยอมทำงานและชอบเอาแต่เที่ยวเตร่กลางคืนกับเพื่อนฝูง นั้น สามารถเทียบได้กับเหตุฟ้องหย่าตามข้อ (6) คือไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามสมควร แต่ทั้งนี้จะต้องมีข้อเท็จจริงที่ถึงขนาดทำให้คุณเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่มาคำนึงประกอบด้วยนะครับ เช่น หากภรรยามีฐานะดีไม่ต้องทำงานก็อยู่ได้ ก็ยังไม่ถือว่าทำให้คุณเดือดร้อน แต่หากฐานะไม่ดีอยู่แล้วและไม่ยอมทำงาน อีกทั้งยังเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน ซึ่งทำให้คุณเดือดร้อนก็ต้องนำสืบให้ศาลเห็นพยานหลักฐานดังกล่าวอย่างชัดเจนด้วย ศาลจึงจะพิพากษาให้หย่ากันได้  นอกจากนี้ แม้ทางกฎหมายจะไม่หย่ากัน แต่ความเป็นจริงก็สามารถทำให้ไม่ต้องอยู่เป็นสามีภรรยากันได้โดยแยกกันใช้ชีวิตคนละที่ละทางก็ได้ หลังจากนั้นค่อยไปดำเนินเรื่องหย่าทีหลังครับ

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้