ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

26 เม.ย 2556 20:11 #22


ตอบคำถามคุณจอย
                  การจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรส คือ การที่สามี ภรรยาขอให้จดทะเบียนลงชื่อสามีหรือภรรยาอีกฝ่ายหนึ่งลงในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอันเป็นสินสมรส ซึ่งมีชื่อสามีหรือภรรยาเป็นเจ้าของอยู่แต่เพียงผู้เดียว เพื่อให้สามีและภรรยามีชื่อเป็นเจ้าของรวมกัน และการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสมิใช่การโอน เป็นเพียงการลงชื่อคู่สมรสฝ่ายที่ยังไม่มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ เพื่อให้ปรากฏชื่อเป็นเจ้าของรวมกันในหลักฐานทางทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1475
                   กรณีของคุณจอยนั้น ผมไม่อาจทราบได้ว่า เหตุใดทางสำนักงานที่ดินจึงต้องให้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  หรือมีการอ้างเหตุผลในการที่จะต้องเสียเงินประการใดบ้าง         
                   แต่ผมสันนิษฐานว่า เจ้าพนักงานที่ดินน่าจะดูระยะเวลาที่สามีได้กรรมสิทธิ์มาก่อนจดทะเบียนสมรสเป็นหลัก และถือว่าเป็นสินส่วนตัวของสามี ซึ่งคุณจอยจะต้องโต้แย้งว่า แม้จะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ก่อนจดทะเบียนสมรสก็ตาม แต่สามีได้จดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารมาซื้อที่ดิน ซึ่งหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้วก็ได้มีการนำเงินเดือนหรือรายได้ที่ได้มาระหว่างสมรสมาผ่อนชำระเป็นรายงวดรายเดือน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่สงสัยว่าเป็นสินสมรสหรือไม่ ซึ่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
                    อนึ่ง การที่คุณจอยสอบถามผมว่า "ทำไมถึงต้องเสีย" แล้วผมจะตอบได้ไหมเอ่ย เพราะผมไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานที่ดินผู้แจ้งให้คุณจอยต้องเสียเงิน เกรงว่าจะเป็นการสอบถามผิดตัวนะครับ ความจริงคุณจอยจะต้องขอคำอธิบายต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยตรง หรือผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในสำนักงานที่ดินนั้น ๆ หรือทำหนังสือชี้แจงความเป็นมาของการได้มาซึ่งที่ดินโดยละเอียด และขอคำอธิบายไปยังกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยไปเลยโดยตรง จะเป็นการดีกว่า เพราะจะได้รับคำตอบชัดเจนและสามารถนำไปกล่าวอ้างต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินคนนั้นได้

 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

สุข

สุข

ผู้เยี่ยมชม

4 มิ.ย. 2556 15:56 #23

เรีนนถามคุณทนายภูวรินทร์ ดิฉันแต่งงานแล้ว ต่อมาอาของดิฉันมาอยู่กะเรา อาขายบ้านมาได้เงินก้อนนึง สามีเอาเงินไปทำเจ้งหมด หนีไปอยู่อีกบ้านต่างอำเภอ แถมไปมีกิ๊ก

ต่อมาไม่นาน อาว่าจะขายที่สามีเราก้อกลับมาเป็นธุระให้ได้ค่านายหน้าไป3% อาให้ดิฉันดูแลเรื่องเงินสามีแนะนำให้ไปซื้อที่ เป็นชื่อดิฉัน

ตอนไปซื้อดิฉันบอกเจ้าหน้าที่ไม่มีสามี ตอนนี้ก้อขอเงินเราใช้ตลอด สามีเราอยู่บ้านอีกหลังได้ข่าวว่ามีกิ๊ก ความอดทน(25ปี)เริ่มหมดแล้ว อยากหย่า

อยากรู้ว่าที่ที่ดิฉันซื้อเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว สามีมีสิทธิ์ในที่นี้หรือไม่คะ

สุข

สุข

ผู้เยี่ยมชม

สุข

สุข

ผู้เยี่ยมชม

4 มิ.ย. 2556 16:43 #24

ทีแรกที่ของอาที่ขายเป็นที่มรดก ที่เกิดคุณอาเสียมีพินัยกรรมอยู่ แต่พอดีอาป่วยก้อเลยขายที่

มารักษาตัวด้วย เงินที่เหลือก้อแบ่งให้หลานคนอื่นด้วย ส่วนดิฉันก้อเอาเงินส่วนนี้มาซื้อที่ไว้เพื่อขายเอาเงินให้หลาน

คนที่ยังได้เงินไม่ครบ

สุข

สุข

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

5 มิ.ย. 2556 23:15 #25


ตอบคำถามคุณสุข
               หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                มาตรา 1471  สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
               (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
               (2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
               (3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
               (4) ที่เป็นของหมั้น
                มาตรา 1472  สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อ ทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มา นั้นเป็นสินส่วนตัว
                สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
                มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
                มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
                (1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
                (2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
               (3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
                ดังนั้น เมื่อเป็นเงินที่อาให้แก่คุณโดยเสน่หา แม้จะได้มาระหว่างสมรสก็ไม่ใช่สินสมรส  ตามมาตรา 1471 (3)   และเมื่อนำเอาเงินไปซื้อทรัพย์สินอื่น ๆ มา ทรัพย์สินนั้นก็ยังเป็นสินส่วนตัวของคุณต่อไปตามมาตรา 1472  ฉะนั้น สามีจึงไม่มีสิทธิ์ครับ
 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

สุข

สุข

ผู้เยี่ยมชม

6 มิ.ย. 2556 18:38 #26

ขอบคุณค่ะ วันนี้ไปโอนที่ให้ลูกไว้ก่อน เพราะสามีห้วหมอ ดิฉันทำถูกหรือเปล่าคะ

สุข

สุข

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

7 มิ.ย. 2556 15:20 #27


ตอบคำถามคุณสุข
           การโอนให้ลูกก็ทำถูกต้องแล้วครับ จะได้ไม่มีปัญหา แต่หากต่อไปในอนาคตต้องการขายระหว่างที่ลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องทำเรื่องขออนุญาตศาลขายนะครับ เพราะกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินของผู้เยาว์ ดังนั้น สามีจึงไม่สามารถมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินนี้ได้อีก

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

สุข

สุข

ผู้เยี่ยมชม

8 มิ.ย. 2556 19:38 #28

:l::l::l: ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณทนายเจริญรุ่งเรื่อง นะคะ

สุข

สุข

ผู้เยี่ยมชม

bb

bb

ผู้เยี่ยมชม

17 ก.พ. 2557 17:17 #29

ขอถามคำถามคับ เงินที่ได้จากการขายบ้านและที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แล้วนำไปซื้อที่ดินและรถยนต์ ที่ดินและรถยนต์ที่ซื้อใหม่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวหรือสินสมรสคับ

bb

bb

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

18 ก.พ. 2557 16:02 #30


ตอบคำถามคุณ bb
          ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1472 บัญญัติว่า "สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อ ทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มา นั้นเป็นสินส่วนตัว และสินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว"
         ฉะนั้น เงินที่ได้จากการขายบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัว และนำไปซื้อที่ดินและรถยนต์ ทรัพย์สินดังกล่าวที่เพิ่งซื้อมาระหว่างสมรส ตามกฎหมายก็ยังถือว่าเป็นสินส่วนตัว ยกเว้น คุณนำรถยนต์ไปให้ผู้อื่นเช่า หรือเอาที่ดินไปทำประโยชน์ ค่าเช่าหรือผลตอบแทนเท่านั้นที่จะเป็นสินสมรส ตามมาตรา 1474 (3) ดูกฎหมายในคำตอบของคุณสุขข้างบนคำตอบนี้
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ลำดวน

ลำดวน

ผู้เยี่ยมชม

19 พ.ย. 2557 18:29 #31

เป็นเคสกับคนต่างชาติคะ คือได้ซื้อบ้านให้ก่อน แต่งงาน และ จดทะเบียน มีหลักฐานการโอนเงินมาให้เพื่อทำการซือบ้าน เพื่อเป็น สินสอด ต่อมา ได้ออกจากบ้านไปมีแฟนใหม่ที่ต่างประเทศ และ ให้ภรรยาทำการหย่าโดยลำพังซึ่งฟ้องศาลเพื่อหย่า ได้ใบมาเรียบร้อยแล้ว ผ่านมา3ปี ทางสามีคนต่างชาติ จะกลับมาเคลมบ้าน หรือ ต้องการเงินสดคืน แต่ทางภรรยาโอนชื่อบ้านเป็นชื่อลูก เมื่อเร็วๆนี้ (เป็นลูกติด)
1. จะสู้คดีว่าบ้านที่ได้มาเป็น ทรัพย์ส่วนตัว ให้โดยสิเหน่หา เป็น สินสอด
2. การโอนให้ลูกไปแล้ว ทางศาลจะมีผลกับการตัดสินอย่างไรบ้าง สามารถขายได้หรือเปล่าคะ
3. ถ้า สามีเก่าคนต่างชาติมา จะฟ้องเรื่อง บุกรุกได้หรือไม่ ถ้าจะเข้ามาในบริเวณบ้าน
4. ค่าใช้จ่ายการฟ้อง โดยคร่าวๆประมาณเท่าไหร่คะ เพราะต้องหาเลี้ยงตัวเอง หาเช้ากินค่ำนะคะ
5. โอกาสที่จะชนะ มีมากแค่ไหนคะ

ลำดวน

ลำดวน

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

27 พ.ย. 2557 19:33 #32

ตอบคำถามคุณลำดวน



สินสอด เป็นทรัพย์สินหรือเงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดาของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงได้เลี้ยงดูมาเป็นอย่างดีหรือที่หญิงยินยอมสมรสด้วย ซึ่งเป็นการให้บิดามารดาของหญิงและตกเป็นสิทธิของบิดามารดา ส่วนของหมั้น เป็นทรัพย์สินหรือเงินที่ฝ่ายชายมอบแก่หญิงในวันหมั้นเพื่อเป็นการยืนยันว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ซึ่งตกเป็นสิทธิแก่หญิง  แต่ตามคำถามกรณีที่ฝ่ายชายโอนเงินให้มาซื้อบ้านก่อนแต่งงานและก่อนจดทะเบียนสมรสนั้น จึงน่าจะเป็นการให้โดยเสน่หา  หากอดีตสามีต่างชาติฟ้องศาลก็สามารถต่อสู้คดีตามหลักดังกล่าวได้


หากอดีตสามีจะฟ้องก็คงต้องฟ้องเพิกถอนการโอนไปในตัวโดยฟ้องคุณเป็นจำเลยที่ 1 และลูกเป็นจำเลยที่ 2 ซึ่งทั้งสองคนก็สามารถต่อสู้คดีตามที่ได้ตอบไปแล้วในข้อ 1.


สามารถแจ้งความดำเนินคดีฐานบุกรุกได้


ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีหรือต่อสู้คดีนั้น ไม่สามารถตอบได้ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น จำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องกันมีจำนวนเท่าใด ความยากง่ายของคดี และศาลที่พิจารณาคดี เป็นต้น ซึ่งคุณต้องตกลงกับทนายความที่จะว่าจ้างให้ดำเนินคดีเอง จะถามกับทนายความคนอื่นที่ไม่ได้ว่าจ้างหรืออยู่ต่างพื้นที่ที่คดีเกิดขึ้นเพื่อเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ครับ เพราะแม้แต่ทนายความพื้นที่เดียวกันก็เรียกค่าจ้างไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เมื่อมีคดีฟ้องศาลแล้วจึงค่อยนำคำฟ้องไปปรึกษากับทนายความที่จะว่าจ้างจะเป็นการดีกว่า


โอกาสที่จะชนะคดีก็เช่นเดียวกัน ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด ลำพังเพียงข้อมูลฝ่ายเดียวย่อมไม่อาจจะตอบว่าจะชนะคดีมากน้อยนะครับ คดีความไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว บางคดีชนะกันด้วยข้อเท็จจริง บางคดีก็ชนะกันด้วยข้อกฎหมาย 



 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

น้อย

น้อย

ผู้เยี่ยมชม

15 เม.ย 2558 02:34 #33

สวัสดีค่ะคุณทนาย,

ดิฉันแต่งงานกับชาวอเมริกันมา12ปีมีลูกด้วยกันสองคน, ปีที่แล้วสามีไล่ออกจากบ้าน(มีปัณหากันมานานแล้ว) ดิฉันออกมาได้กระเป๋าเสื้อผ้าใบเดียวแต่ต่อมาได้เจอกับแฟนใหม่และแฟนใหม่ได้ปลูกบ้านให้, และยายได้โอนที่ดิน1ไร่ให้ดิฉันปลูกบ้านด้วย, อยากทราบว่าสามีเก่าจะขอแบ่งเป็นสินสมรสได้รึเปล่าค่ะ, บ้านที่แฟนใหม่สร้างได้มาด้วยความเสน่หารุเปล่า! รบกวนด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ

น้อย

น้อย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

2 พ.ค. 2558 23:55 #34

            ตอบคำถามคุณน้อย
               หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                มาตรา 1471  สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

               (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

               (2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

               (3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา

               (4) ที่เป็นของหมั้น

                มาตรา 1472  สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อ ทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มา นั้นเป็นสินส่วนตัว

                สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

                มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

                มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

                (1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

                (2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

               (3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

                ดังนั้น ที่ดินที่ยายโอนให้และทรัพย์สินอื่นที่บุคคลอื่นให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวตาม 1471 (3) ไม่ใช่สินสมรส
  

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

Monkkron

Monkkron

ผู้เยี่ยมชม

13 ก.พ. 2559 19:34 #35

รบกวนปรึกษาเรื่องฟ้องอย่าสามีชาวต่างชาติค่ะ พอดีกำลังฟ้องอย่าสามีชาวต่างชาติ
แต่งงานกับชาวอังกฤษ มีร่วมสองปี ดิฉันทำงานมาตลแดโดยการสร้างบ้านขายพร้อมที่ดิน ดิฉันอยากเรียรถามท่านทนายว่า 1. กิจการสร้างบ้านขายพร้อมที่ดืนในระหว่างสมรส จะเป็นสินสมรสหรือไม่คะ 2. ที่ดินแบะทุนในการสร้างบ้านขายมาจาก บ้านเดิมของดิฉันที่มีมาก่อรสมรสกับสามี และ ที่ดินก้อเปฌนที่ดินที่ได้มาก่อนสมรสกับสามีอีกเช่นกันค่ะ ตลอดระยะเวลาที่ทำธุรกิจสามีไม่เคยช่วยเหลืองานใดๆเลยค่ะ ไม่เคยร่วมในกิจการเลยทั้งเงินและทุน 3 . เงินสดที่ส่มีโอมาให้ดิฉันก่อนสมรส โอนเข้าบัญชีดิฉันคนเดียว สามล้านกว่าบาท หลังจากนั้น แกได้บินตามมาหา แบะมาอยู่ด้วยที่ไทยแกไม่ยอมกลับอังกฤษอีกเลยค่ะ แกขายบ้านที่อังกฤษแบะโอนมาให้ดิฉัน แต่เงินจำนวนนี้ พอแกมาอยู่ด้วยก้อได้นำไปศื้อรถยนต์ จักรยานยนต์ ทำตึกแถวให้เช่า ซื้อที่ดิน สองงาน ใช้จ่ายไปจนหมดสิ้น ในเงินก้อนนั้น คำถามคือ เงินที่คุนสามีโอนมาให้ก่อนสมรส เป็นเงินให้ดิฉัรฝ้ายเดียว โดย้สน่หา

Monkkron

Monkkron

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้