AkaBh

AkaBh

ผู้เยี่ยมชม

  เรียนปรึกษาทนายครับ..... (4985 อ่าน)

21 ก.พ. 2555 19:41

[size=100%]รบกวนท่านทนายให้คำปรึกษาด้วยครับ....[/size]

[size=150%] ในครอบครัวมีผมเป็นบุตรคนโต อายุ 21 ปี ที่คอยดูแลบิดาที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์มากว่า 5 ปี ส่วนมารดาได้หนีหายไปกว่า 3 ปีแล้ว เรื่องของเรื่อง คือ บิดา ไม่สามารถทำการงานใดได้ เพราะแขนขามีผลจากการเจ็บป่วยทำให้แขนข้างหนึ่งใช้การไม่ได้ เดินไปมาได้ แต่ก็ลำบาก กะโผลกกะเผลก หลังๆมานี้ เริ่มมีอาการพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง บางทีพูดคนเดียว ถามอย่างตอบอย่าง ครั้งหนึ่งเคยนำบิดาไปติดต่อเพื่อทำนิติกรรมเกีียวกับที่ดิน เมื่อเจ้าหน้าที่สอบถามก็มีลักษณะนี้ จนเจ้าหน้าที่บอกว่า พูดไม่รุ้เรื่อง คงดำเินินการให้มิได้ ดังนี้ ...
[/size]

1.จะถือได้ว่า บิดาเป็นบุคคลวิกลจริต จนเป็นเหตุให้กระผมต้องร้องขอให้ศาลสั่งบิดาเป็นบุคคลไร้ความสามารถได้หรือไม่
2. สืบเนื่องจากดังกล่าว กระผมจะสามารถร้องขอให้ศาลตั้งผมให้เป็นผู้อนุบาลเพื่อทำนิติกรรมได้หรือไม่ โดยที่ผมเป็นบุตรถูกต้องตามกฎหมาย บิดา-มารดาจดทะเบียนกัน ปัจจุบันมารดาก็หนีหายไป และจะสามารถยื่นเรื่องได้ที่ศาลใด
3.บิดามีที่ดิน 1 แปลง จะสามารถโอนให้ผมที่เป็นผู้อนุบาล (หากสมมติว่า ศาลมีคำสั่งให้บิดาเป็นบุคคลไร้ความสามารถ) โดยตรงได้หรือไม่

[right]ด้วยความเคารพอย่างสูง[/right]

AkaBh

AkaBh

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

21 ก.พ. 2555 23:43 #1

ตอบคำถามคุณ AkaBh
        1) ตามกฎหมายเมื่อบุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว บุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้ตามข้อ 2) อาจร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ การป่วยเป็นอัมพาตถือว่ามีเหตุบกพร่องเกิดขึ้นจนไม่สามารถจะจัดการงานของตนเองได้ เพราะกายพิการสมควรถูกสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ 
         2) บุคคลที่มีสิทธิจะร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ผู้มีเหตุบกพร่องเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้ ได้แก่ คู่สมรส  ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด  ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์  ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่  หรือพนักงานอัยการ
        3) เขตอำนาจศาลที่ยื่นคำร้อง ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล คือศาลที่ผู้มีเหตุบกพร่องนั้นอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องขอมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล 
        4)  เมื่อศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้คุณเป็นผู้พิทักษ์แล้วก็ไม่สามารถโอนที่ดินของบิดามาเป็นของคุณได้ เพราะอำนาจหน้าที่ของผู้พิทักษ์ คือ ช่วยเหลือ ควบคุม และให้ความยินยอมแก่คนเสมือนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมบางอย่าง  ไม่ใช่ไปกระทำนิติกรรมแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถทั้งหมด โดยกฎหมายได้กำหนดให้คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้
     (1) นำทรัพย์สินไปลงทุน
     (2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น
     (3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
     (4) รับประกันโดยประการใด ๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับ ชำระหนี้
     (5) เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า หกเดือนหรืออสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าสามปี
     (6) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อ การกุศลการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
     (7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือ ไม่รับการให้โดยเสน่หา
     (8) ทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิ ในอสังหาริมทรัพย์หรือในสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
     (9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือ ซ่อมแซมอย่างใหญ่
    (10) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เว้นแต่การร้องขอถอนผู้พิทักษ์
    (11) ประนีประนอมยอมความ หรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
            ถ้ามีกรณีอื่นใดนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่งซึ่งคนเสมือนไร้ความ สามารถอาจจัดการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือ ครอบครัวในการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือ เมื่อผู้พิทักษ์ร้องขอในภายหลังศาลมีอำนาจสั่งให้คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะทำการนั้นได้
           ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่ง อย่างใดที่กล่าวมาใน (1) – (11) หรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์ เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม
           การใดกระทำลงโดยฝ่าฝืนไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ การนั้นเป็นโมฆียะ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

AkaBh

AkaBh

ผู้เยี่ยมชม

26 ก.พ. 2555 16:28 #2

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับผม

AkaBh

AkaBh

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้