เอก
ผมขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับสัญญาหอพักน่ะครับ (4235 อ่าน)
9 ธ.ค. 2553 01:09
ข้อแรกคือ....ผมได้ทำสัญญาหอพักกับหอหนึ่งครับ โดยในสัญญาระบุ 3 ปี
ทั้งทีห้องอื่น แค่ 1 ปีครับ แต่ตอนเว็นสัญญาผมไม่ได้อ่านเลยครับ เนื่องจากตอนเซ็นเจ้าของหอบอกว่า
ให้เซ็นไปก่อน แล้วจะให้สำเนาไปอ่านทีหลัง เวลาผ่านไปผมไปขอสำเนา เจ้าของหอปติเสฎที่จะ
ให้สำเนา โดยอ้างว่า ให้มาอ่านเอาเอง ไม่ให้สำเนา และไม่ให้คนอื่นอ่านด้วยนอกจากผม ทั้งในสัญญา
ก็เขียนว่า สัญญาแต่ให้คนละฉบับ แบบว่า ฟ้องศาลได้หรือไม่
ข้อที่สอง...ผมได้โวยวายเรื่องสัญญาที่ไม่ยอมให้สำเนาผม ทำให้ผมทำเรื่องขอย้ายออกจากหอ
แต่ปัญหาคือ ทางหอได้ปรับเงินเพิ่ม คือ เงินประกันเดิม 5000 ก็ริบไปแล้ว แล้วยังจะขอปรับเพิ่ม
อันนี้ฟ้องศาลได้หรือไม่
ข้อที่สาม...เท่าที่จำได้ในสัญญาระบุว่า ให้จ่ายค่าห้องไม่เกินวันที่ 5 ถ้าเงินจ่ายวันละ 100
แต่กลับ ปรับตั้งแต่วันที่3 โดยอ้างว่ามันเป็นกฎ ทั้งๆในสัญญาก็ระบุชัดเจนว่า วันที่ 5
อันนี้ฟ้องศาลได้หรือไม่
ข้อที่สี่.... กฎหมายตาม ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยศัญญา ซึ่งบังคบใช้ 1/1 2550
ระบุว่า หลักฐานในการรับเงินของผู้ประกอบการ ต้องมีดังนี้
1.ชื่อ ที่อยู่ของผู้ประกอบกิจการ
2.ชื่อและที่อยู่ของผู้เช่า
3.ชื่อสถานที่ตั้ง
และอืนๆ
ทางหอทำไม่ถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ทั้งสิน
ขอสุดท้าย... ถ้าผมจะทำการย้ายหอ โดยจะขอเงินประกันคือ ทั้งหมดโดยใช้ พรบ. ของ สคบ
ได้หรือไม่ โดยให้เคสเดียวกันกับ กระทู้นี้ http://sundayka.exteen.com/20090610/entry
ได้หือไม่ครับ
เอก
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
21 ธ.ค. 2553 23:38 #1
สวัสดีครับ
ผมตอบคำถามทั้งหมดทุกข้อรวมกันดังนี้ครับ ตามกฎหมายแล้วเมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55)
แต่การใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาลก็ต้องคำนึงว่าจะคุ้มค่ากับเวลาและเงินตราที่เสียไปหรือไม่ กรณีของคุณหากต้องการเพียงแค่สำเนาสัญญาเช่า หรือเรียกเงินประกันคืน หรือมีข้อโต้แย้งอื่น ๆ เช่นข้อสัญญาที่ผู้ให้เช่ากำหนดไว้เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้เช่าเกินไป ก็พิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 คือ หากข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ฯลฯ ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
กรณีของคุณตามที่ถามมานั้น สามารถฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้ เพราะเจ้าของหอพักก็ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจ คุณเป็นผู้รับบริการถือเป็นผู้บริโภค ฟ้องได้โดยไม่เสียค่าฤชาธรรมเนียม แต่ก็ต้องเสียเวลาและค่าเดินทางอยู่ดี หรือจะดำเนินการโดยไปร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ได้ ซึ่งจะนัดให้คู่กรณีมาไกล่เกลี่ย หรือมีคำสั่งให้ปฏิบัติตาม หากคู่กรณีปฏิบัติตามก็ถือว่าโชคดีไป แต่หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็ไม่มีสภาพบังคับ สคบ.ต้องฟ้องศาลเพื่อขออำนาจบังคับอีกที
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
จุฑามาศ
25 ม.ค. 2560 01:06 #3
จะรบกวนถามเหมือนกันค่ะว่า มาตรฐานการคิดราคาค่าเช่าห้องต้องมีมั้ยค่ะ ถุกไปแพงไป แพงไปคือ อำนวยความสะดวกได้ครบ ก้ดี แต่แพงไปแต่ไม่ทีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เรา เช่น ตุ้เติมน้ำอัตโนมัติ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ หรือล้างแอร์ให้ฟรี ทำความสะอาดผ้าม่าานให้ฟรี แบบนี้สมควรราคาเท่าไหร่ค่ะ เพร่ะตอนนี้ที่เช่าอยุ่ ราคา 4,000 มีระเบียงกว้างค่ะ ถ้าเป้นข้างใน 3500 ระเบียงเล็ก เดือนหนึ่งรวมค่าน้ำค่าไฟก้ประมาณ เกือบห้าพันค่ะ สิ่งอำนวยความสะดวก ไม่มีค่ะ ไม่มีเครื่องซักผ่า ไม่มีตุ้เติมน้ำแบบนี้อยากทราบว่ามันสมกับราคามั้ยค่ะ เราสามารถร้องเรียนอะไรได้รึป่าวค่ะ
จุฑามาศ
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
25 ม.ค. 2560 21:22 #4
ตอบคำถามจุฑามาศ
โดยปกติเรื่องอัตราค่าเช่าเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดโดยผู้ให้เช่า ตามสภาพของทรัพย์สินที่ให้เช่า ไม่มีมาตรฐานแน่นอน จะเหมาะสมหรือพอสมควรเช่าหรือไม่ เป็นเรื่องที่ผู้จะเช่าสามารถหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนได้ หากเห็นว่าแพงเกินไป ผู้เช่าก็มีอิสระที่จะไม่ทำสัญญาเช่า ซึ่งเป็นสิทธิของผู้เช่า ที่สามารถตัดสินใจเช่าหรือไม่เช่าก็ได้ ไม่มีใครบังคับ หากผู้เช่าเห็นว่าดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่ต้องการ ก็ตกลงทำสัญญาเช่า หากเห็นว่าไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา
อนึ่ง ปัจจุบัน มีพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558 ประกาศใช้บังคับแล้ว ผู้ประกอบกิจการหอพักจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน ดังนั้น เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งมีบทบัญญัติมาตรา ๓๔ บัญญัติไว้ว่า "หอพักเอกชนที่จะได้รับใบอนุญาตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) ชื่อและประเภทของหอพัก
(๒) จำนวนห้องพัก
(๓) สถานที่ตั้ง สิ่งแวดล้อม และสุขลักษณะของหอพัก
(๔) ห้องนอน ห้องน้ำ และห้องส้วม
(๕) สถานที่สำหรับรับประทานอาหารหรือต้อนรับผู้เยี่ยมเยียน และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นสำหรับผู้พัก
(๖) ระบบสาธารณูปโภคและระบบการรักษาความปลอดภัย"
ดังนั้น หากหอพักไม่มีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายก็สามารถร้องเรียนได้ที่ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก ในท้องที่ที่หอพักนั้นตั้งอยู่
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
ผู้ดูแล