ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

  คดีหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต (112479 อ่าน)

2 ต.ค. 2553 14:13

หมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต
บทความนี้จากหนังสือข่าว ส.ส.ท. โดย พรเทพ ทวีกาญจน์ 
เอามาลงไว้ที่นี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และเป็นวิทยาทานสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเท่านั้นครับ

          มาดูว่าการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต คืออะไร ก่อนที่จะพิจารณาถึงเรื่องนี้ควรจะพิจารณาก่อนว่า หมิ่นประมาทนั้น มีลักษณะการกระทำอย่างไร หมิ่นประมาทคือ การใส่ความผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ เช่น พูด เขียน พิมพ์ข้อความ หรือแสดงกริยาต่างๆ โดยการใส่ความดังกล่าวนั้น ต้องเป็นการกระทำให้บุคคลที่สามรับทราบ ซึ่งเป็นการกระทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้น ได้รับความเสียหาย
          ดังนั้น ผู้กระทำการหมิ่นประมาท จะมีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา กล่าวคือ การหมิ่นประมาทนั้น ผู้กระทำผิดจะมีความหมายทางแพ่ง ฐานละเมิดตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ ผู้กระทำได้กล่าว หรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความที่ขัดต่อความเป็นจริง เป็นผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ

          นอกจากนี้การหมิ่นประมาท ยังถูกบัญญัติให้เป็นความผิดหนึ่ง ในประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งลักษณะการกระทำคือ ผู้กระทำความผิดได้ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การพิจารณาข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทในทางอาญานั้น อาจเป็นความจริง หรือเท็จก็ได้ดังที่เคยมีคำกล่าวว่า "ยิ่งจริงยิ่งผิด" เพราะกฏหมาย มุ่งพิจารณาแต่เพียงว่าถ้ามีการกล่าวถึงบุคคลอื่น ในด้านที่ไม่ดีแล้ว ย่อมจะทำให้สังคมไม่สงบสุข ไม่ว่าข้อความนั้นจะเป็นจริงหรือไม่

          ความรับผิดทางอาญา และทางแพ่งมีข้อแตกต่าง ประการสำคัญที่สุด คือ หากข้อความที่กล่าวเป็นเรื่องเท็จ ผู้กระทำจะมีความผิดทางอาญา และต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง แต่ถ้าข้อความที่กล่าวเป็นจริง ผู้กระทำจะมีความผิดทางอาญา แต่ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง

          กรณีความผิดทางอาญา ในการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต จะมีความผิดตามมาตรา 326 ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ"

          หากนำข้อความ หรือภาพที่มีลักษณะหมิ่นประมาท ไปลงไว้ในเว็บไซต์ คนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ อันเป็นลักษณะของการโฆษณาด้วยภาพ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใด อย่างหนึ่ง ซึ่งในมาตรา 328 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์ ภาพ หรือ ตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท" ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษหนักกว่ามาตรา 326 เพราะการโฆษณาเป็นการทำให้ข้อความหรือภาพที่มีลักษระหมิ่นประมาทกระจายไปสู่คนจำนวนมากกว่าการหมิ่นประมาททั่วๆ ไป

          ความผิดสำเร็จในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ตนั้น จะถือว่าความผิดสำเร็จเมื่อใด เมื่อพิจารณาถ้อยคำที่ว่า "โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง" ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้นไม่ใช่ผลของการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่ต้องถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่จะพิจารณาว่าผิดสำเร็จ หรือไม่จากวิญญูชนทั่วไป (บุคคลทั่วไป) ว่าเมื่อได้รับทราบข้อความนั้นแล้ว เห็นว่าน่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าน่าจะเสียหาย ผู้กระทำก็จะมีความผิดแล้ว แต่ถ้าบุคคลทั่วไปเห็นว่าไม่น่าจะเสียหายแต่ผู้อื่น ผู้กระทำก็ไม่มีความผิด และต้องได้ข้อเท็จจริงว่า บุคคลที่สามรับทราบข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ

          ถ้าบุคคลที่สามยังไม่ได้รับทราบข้อความนั้นเลย ก็เป็นแต่เพียงขั้นพยายามหมิ่นประมาทเท่านั้น คือ ผู้กระทำได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เช่น นายเอก ส่งอีเมลล์ให้นายโท โดยมีข้อความหมิ่นประมาทนายตรี ถ้านายโทยังไม่เปิ[คำไม่พึงประสงค์]่าน ถือว่านายเอกได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล คือ นายโท ยังไม่ได้รับทราบข้อความนั้น จีงมีความผิดเพียงขั้นพยายามหมิ่นประมาทรับโทษเพียงสองในสาม แต่ถ้านายโทเปิ[คำไม่พึงประสงค์]่านอีเมล์ฉบับดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่ามีบุคคลที่สามรับทราบข้อความแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จโทษเต็มตามที่กฎหมายบัญญัติ 

* ในกรณีเมื่อได้รับอีเมลล์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท และได้ forward ต่อไปให้ผู้อื่น จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ?
ประเด็นนี้เกิดขึ้นได้บ่อยมากในปัจจุบัน เพราะสามารถทำการส่งข้อความหรือภาพ ที่เราได้รับมาไปให้เพือนหรือ คนรู้จักกันได้อีกไม่จำกัดจำนวน ประเด็นนี้สามารถเทียบเคียงได้กับคำพิพากษาศาลฎีกาที 2822/2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงคือ จำเลยแสดงข้อความในจดหมายที่ได้รับจากผู้อื่น โดยรู้อยู่ว่าจดหมายนั่นมีข้อความหมิ่นประมาท ถือได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาท

          เหตุที่มองว่าการ Forward-mail ไปให้ผู้อื่นถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะผู้กระทำนั้นเมื่อได้รับทราบข้อความ แล้วได้ทำการเผยแพร่ต่อไป เท่ากับเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการขยายความเสียหายออกไป อีกจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นเอง แล้วถ้าหาก Forward-mail ต่อไปให้บุคคลอื่นอีกหลายคน จะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาที่ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 นั้น จะต้องพิจารณาจากการกระทำเป็นหลัก ว่าเป็นการโฆษณาหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึงจำนวนบุคคลผู้รับข้อความ ว่าจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด

*************************************************************************************
ขอเผยแพร่เป็นความรู้ที่เป็นกฎหมายที่ต้องรู้สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกท่านครับ 

          สรุป การหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ตสามารถฟ้องร้องเอาผิดได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง โดยคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทนั้น เป็นความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ยอมความกันได้ เนื่องจากมิใช่คดีความผิดที่ร้ายแรง หากผู้กระทำความผิดรู้สึกสำนึกในการกระทำผิด ด้วยการขอโทษหรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ คู่กรณีก็สามารถยอมความกันด้วยการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท เพื่อไม่ให้เรื่องถึงโรงถึงศาลได้ เพราะเมื่อมีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป  สิ่งสำคัญคือการรู้จักให้อภัยผู้กระทำผิดที่สำนึกแล้ว ส่วนผู้กระทำผิดก็ควรใช้สติคิดก่อนลงมือทำ หรือใคร่ครวญให้ดีก่อนแล้วจึงทำ จะได้ไม่ตกเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญา และถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย 


            ความผิดฐานหมิ่นประมาท กับฐานดูหมิ่น ซึ่งแต่ละฐานความผิดมีองค์ประกอบดังนี้
        1. ความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ แต่ถ้ากระทำด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
        คำว่า “ใส่ความ” หมายถึงการยืนยันข้อเท็จจริง หรือกล่าวยืนยันความจริง หรือความเท็จ หรือเอาเรื่องไม่จริงไปแต่งความใส่ร้าย หรือเอาเรื่องจริงไปกล่าว ก็เป็นความผิด เรียกว่า ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท หรือแม้แต่การเล่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาไปพูดให้บุคคลอื่นฟังก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ สำหรับข้อความจะเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาตามความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไป มิใช่พิจารณาถึงความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว
        ส่วนการกล่าวข้อความที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้อื่นที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น การกล่าวถึงผู้หนึ่งผู้ใดในกลุ่มบุคคลโดยไม่ได้เจาะจงว่าหมายถึงผู้ใดโดยเฉพาะ และถ้อยคำที่กล่าวไม่อาจเข้าใจได้ว่าหมายถึงผู้ใด จึงไม่เป็นหมิ่นประมาท
        ข้อเท็จจริงที่จะเป็นหมิ่นประมาท หรือการใส่ความนั้นพอจะสรุปตามแนวคำวินิจฉัยศาลฎีกาได้ดังนี้
        - ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นคำหยาบ หรือเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้
        - ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คลุมเครือ หรือเลื่อนลอยหรือกล่าวด้วยความน้อยใจ
        - ข้อเท็จจริงที่กล่าวนั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันในอดีตหรือปัจจุบันไม่ใช่เพียงการคาดคะเน หรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่กรณีแสดงความคิดเห็นบางอย่างแม้จะเป็นการแสดงความคิดเห็นในอนาคต แต่หากฟังแล้วทำให้เข้าใจว่าในปัจจุบันเป็นเช่นไร ก็ย่อมเป็นหมิ่นประมาทได้
        ข้อความที่จะเป็นการจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องเป็นข้อความที่ทำให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อาทิเช่น เป็นการใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติ, เป็นการใส่ความเกี่ยวกับเรื่องประเวณี หรือการอันไม่สมควรทางเพศ, เป็นการใส่ความเกี่ยวกับหน้าที่การงาน หรือเป็นการกล่าวถึงความไม่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ทางการเงิน เป็นต้น
        2. ความผิดอาญาฐานดูหมิ่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 บัญญัติว่า ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
        การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว หรือทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่น
                                                                      ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2509 ศาลวินิจฉัยว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ต้องเป็นการแสดงข้อความให้คนฟังคนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกเกลียดชัง ดูหมิ่นขึ้นได้ จำเลยกล่าวว่า “โจทก์เป็นผีปอบ เป็นชาติหมา” ความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นไปได้ จึงไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นอย่างใด และข้อความใดจะเป็นการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ต้องถือตามความคิดของบุคคลธรรมดาผู้ได้เห็นได้ฟัง คำกล่าวของจำเลยจึงไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2506 “ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อหน้าบุคคลหลายคนว่าโจทก์เป็นคนนิสัยไม่ดี มีความรู้สึกต่ำ เป็นถ้อยคำที่ไม่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจว่า โจทก์นิสัยไม่ดี หรือมีความรู้สึกต่ำอย่างไร จึงไม่เป็นถ้อยคำที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ส่วนถ้อยคำว่าโจทก์เป็นคนมีหนี้สินเป็นแสนๆ ยังใช้หนี้เขาไม่หมด อวดมั่งมีคาดเข็มขัดทองนั้น จำเลยก็ไม่ได้กล่าวถึงกับว่าโจทก์เป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เป็นถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึงความชั่วร้าย คดโกง ขาดความน่าเชื่อถือไว้วางใจ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326”

 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

คนโดนโกงซ้ำซาก

คนโดนโกงซ้ำซาก

ผู้เยี่ยมชม

31 ต.ค. 2553 01:27 #1

ขอเรียนถามหน่อยค่ะ ถ้าดิฉันขายสินค้าทาง internet กับทางเว็บไซต์ๆหนึ่ง แล้วอยู่ดีๆวันหนึ่งทางเว็บก็ระงับการใช้งานของดิฉัน โดยให้เหตุผลว่าดิฉันสมัครเข้าใช้งานในชื่อผู้ใช้ท่านอื่น เพื่อมาปั่นราคาสินค้าของตัวเอง ซึ่งดิฉันยังไม่ได้ไปสมัครในชื่อที่ทางทีมงานแจ้งมาเลย พอแจ้งกลับไปทางทีมงานก็ไม่ยอมยกเลิกการระงับใช้งาน ซึ่งทำให้ดิฉันไม่สามารถขายสินค้าได้เป็นเดือนๆ ไม่สามารถซื้อสินค้าที่ดิฉันสั่งจอง หรือกดประมูลไว้ได้ ทำให้ดิฉันขาดรายได้ และเสียเครดิตในการซื้อ-ขายเป็นอย่างมาก ต่อมาดิฉันได้พูดคุยกับแฟนจึงทราบว่าแฟนเป็นคนสมัครชื่อ login อันใหม่ เพื่อจะเอาไว้ซื้อสินค้าที่ตัวเองถูกใจ และที่มากดประมูลสินค้าของดิฉันก็เพราะว่ามีลูกค้าจะเอาก็เลยมากดให้ ดิฉันจึงให้เขาโทรไปชี้แจงกับทางเว็บไซต์เพื่อยืนยันว่าดิฉันไม่รู้เรื่องกับข้อกล่าวหาที่ว่าดิฉันเป็นผู้สมัคร และเข้ามาปั่นราคาสินค้าเอง แต่หลังจากโทรไปชี้แจง ทางทีมงานบอกว่าจะจัดการให้ ผ่านไป 1 เดือนก็ยังระงับอยู่เหมือนเดิม และยังยืนยันที่จะส่งชื่อดิฉันเข้า BlackList ด้วยข้อกล่าวหานี้ ทั้งๆที่ดิฉันก็ได้อธิบายไปแล้ว และมีพยานตั้งหลายคนที่ยืนยันได้ว่าดิฉันไม่ได้ทำ เช็คคอมฯของดิฉันก็ได้ว่ามีการสมัครจริงไหม ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีค่ะ ดิฉันไม่พอใจมาก เพราะการกระทำของทีมงานทำให้ลูกค้าหลายคนไม่สามารถโอนเงินมาให้ดิฉันได้ รวมทั้งทำให้ดิฉันขาดรายได้ทั้งๆที่ดิฉันทำงานสุจริตไม่ได้โกงใคร นอกจากนี้เวลาที่ดิฉันร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากทางทีมงานในการตามลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าแล้วหาย หรือมาแจ้งโอนเงิน(ปลอมๆ)กับทางเว็บไซต์ทั้งๆที่ไม่ได้โอนเงินมาให้ดิฉันเลย ทางทีมงานก็ไม่ช่วยอะไรเลยสักนิด ทั้งๆที่มีกติกาเขียนไว้ว่าการกระทำดังกล่าวผิดกฏของทางเว็บ และอาจจะผิดกฏหมายด้วย แต่เขาก็นิ่งเฉยกับการโกงเหล่านี้ รวมถึงระบบการให้ Feedback กับทางผู้ซื้อ-ผู้ขาย ซึ่งทางเว็บไซต์อ้างว่ามีไว้เพื่อความน่าเชื่อถือของบุคคลนั้นๆ ซึ่งจะเป็นเหมือนโลโก้ของผุ้ขายเลยก็ได้ว่าดีหรือไม่ดี แต่ทางเว็บไซต์ก็ปล่อยให้มีการให้มั่ว กลั่นแกล้งกัน ซึ่งดิฉันร้องเรียนไปก็ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือเลย ไม่รู้จะปรึกษาใครแล้วจริงๆค่ะ เพราะทางเว็บเอาเปรียบกันมากๆเลย รู้สึกแย่มากกับความไม่ยุติธรรมแบบนี้ กรุณาช่วยแนะนำว่าจะเรียกร้องความยุติธรรมอะไรได้บ้างไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

คนโดนโกงซ้ำซาก

คนโดนโกงซ้ำซาก

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

4 พ.ย. 2553 23:06 #2

ตอบ    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือ เรื่องละเมิดครับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ดังนั้น เมื่อคุณมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาลเกิดขึ้น ก็ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด แต่คุณมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าทางเวปไซต์ทำละเมิดต่อคุณอย่างไร เป็นเหตุให้เสียหายอย่างไร การฟ้องคดีต่อศาลต้องเสียเงินค่าขึ้นศาล ค่าทนายความ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และต้องเสียเวลาด้วย ดังนั้น ก็ต้องพิจารณาทางได้เสียทุกอย่างว่าคุ้มหรือไม่ที่จะทำครับ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ผิดแล้ว

ผิดแล้ว

ผู้เยี่ยมชม

12 พ.ย. 2553 10:44 #3

รียน ถาม

ดิฉันมีเรื่องเรียนถามเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน๊ต ค่ะ

คือดิฉันได้โพสข้อความทางอินเตอร์เนตว่าผู้หญิงคนหนึ่ง โดนผู้หญิงคนนั้นก่อนหน้านี้ได้ นำรูปดิฉันลงในเฟสบุคและว่าร้ายต่างๆๆนานา กับเพื่อน ของเค้า และดิฉันไม่ได้แจ้งความ แต่กลับโพสตามเวบต่างๆๆว่าผู้หญิงคนนี้ ต้องการหาเพื่อน โดยให้เมลและเบอร์โท ตอนนี้ เค้าแจ้งตำรวจและจะฟ้องศาล ดิฉันจะต้องทำอย่างไรบ้างคะ ค่าใช้จ่ายในการขึ้นศาล มากมั้ยคะ และคดี ร้ายแรงมากมั้ยคะ เพราะดิฉันทำไปด้วยความโมโห

เครียดมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ผิดแล้ว

ผิดแล้ว

ผู้เยี่ยมชม

กลุ้มใจ

กลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

13 พ.ย. 2553 18:26 #4

ขอเรียนถามด้วยคนครับ

เราพึ่งทราบว่ามีคนโพสต์ด่าเราอย่างรุนแรงทางเว็บบอร์ดสาธารณะ โดยไม่ได้เอ่ยชื่อเราตรง ๆ แต่คนที่รู้จักเราหรืออยู่ในวงการเดียวกับเราอ่านแล้วจะเข้าใจว่าเป็นเราทันที่ และมันนานเกินกว่าที่เซิร์ฟเวอร์จะเก็บล็อกไฟล์ไว้ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบ ip address ได้

เราจึงโทรศัพท์ไปถามเขาพร้อมกับบันทึกเสียงสนทนาไว้ด้วย เขาก็บอกว่าด่าเรานั่นแหละ พร้อมทั้งใช้ถ้อยคำรุนแรงและหยาบคายกับเราอีก

เรียนถามว่าเทปบันทึกการสนทนาที่เราบันทึกไว้ และรูปเว็บบอร์ดที่เซฟข้อความที่เขาด่าเราไว้ จะใช้เป็นหลักฐานในทางคดีได้หรือไม่ครับ หรือเราจะต้องดำเนินการอย่างไรครับ

กลุ้มใจ

กลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

14 พ.ย. 2553 00:31 #5

สวัสดีครับคุณคนกลุ้มใจ
          ตามกฎหมายเรื่องพยานหลักฐานนั้น ให้รับฟังพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ “ให้อ้าง” เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น และ “ให้สืบ” ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน และในการใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น
(2) พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี
(3) ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ
(4) ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด 
          ดังนั้น พยานหลักฐานต่าง ๆ จึงมีคุณค่าในตัวของพยานหลักฐานนั้น ๆ เอง หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยหรือผู้ที่ถูกกล่าวหากระทำความผิดได้ การที่คุณประสงค์จะให้ผู้ที่ทำให้คุณเสียหายได้รับโทษตามกฎหมาย คุณก็แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนเรื่องที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับโทษตามกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยครับ
           ส่วนตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเทปบันทึกเสียงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เช่น ฎ.1123/2509 (ป.) รับฟังได้ แม้เป็นการบันทึกเทปในการสนทนาทางโทรศัพท์กับจำเลยก็รับฟังได้
และฎ.4674/2543 การที่จำเลยอ้างส่ง เทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์ และจำเลย พร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาเป็นพยานหลักฐานนั้น นับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่องการใช้เงิน แม้โจทก์จะไม่ทราบว่า มีการบันทึกเสียงไว้ก็ตาม แต่เมื่อเสียงที่ปรากฏเป็นเสียงของโจทก์จริง และการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลย ซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความนั้น เป็นการบันทึกถ้อยคำ ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 243 วรรคสอง

      

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

กลุ้มใจ

กลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

14 พ.ย. 2553 11:01 #6

ขอบคุณครับ

กลุ้มใจ

กลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

กลุ้มใจ

กลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

15 พ.ย. 2553 13:28 #7

ขอเรียนถามเพิ่มอีกนิดนะครับ

คดีแบบนี้มีอายุความเท่าไหร่และเริ่มนับอย่างไรครับ

กลุ้มใจ

กลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

16 พ.ย. 2553 10:24 #8

ความผิดฐานหมิ่นประมาทเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ซึ่งความผิดฐานหมิ่นประมาทมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี แต่ถ้ากระทำด้วยการโฆษณา มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี อายุความสำหรับคดีประเภทนี้มี 2 ประเภท กล่าวคือ
          1. ความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ
          2. เมื่อได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนแล้ว ถ้าไม่ได้ฟ้อง และได้ตัวผู้กระทำผิดมาศาล ภายในกำหนด 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี (หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี) นับแต่กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความครับ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

คนโดนฟ้อง

คนโดนฟ้อง

ผู้เยี่ยมชม

29 พ.ย. 2553 15:02 #9

มีคนอ้างชื่อดิฉัน โพสข้อความว่าผู้อื่นบนเว็บ แล้วดิฉันถูกฟ้อง ต้องทำไงคะ

คนโดนฟ้อง

คนโดนฟ้อง

ผู้เยี่ยมชม

เลขาทนายภูวรินทร์

เลขาทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

21 ธ.ค. 2553 22:45 #10

คุณทนายภูวรินทร์ได้ตอบข้อสงสัยและให้คำปรึกษากับคุณคนโดนฟ้องให้แล้วค่ะ มีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาเพิ่มเติมสามารถโทรปรึกษาหรือส่ง e-mail มาเพิ่มเติมได้ค่ะ

เลขาทนายภูวรินทร์

เลขาทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

คนทุกข็ใจ

คนทุกข็ใจ

ผู้เยี่ยมชม

22 ม.ค. 2554 17:33 #12

มีคนแอบอ้างชื่อ นามสกุล และรูปเรา ใน Windows Live Messenger รู้ว่าเป็นใครแต่เขาไม่ยอมรับ จะฟ้องได้มั้ยคะ

คนทุกข็ใจ

คนทุกข็ใจ

ผู้เยี่ยมชม

เลขาทนายภูวรินทร์

เลขาทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

30 ม.ค. 2554 01:07 #13

คุณทนายภูวรินทร์ ได้ตอบคำถามคุณคนทุกข์ใจทางอีเมลล์เรียบร้อยแล้วนะคะ

หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ค่ะ

เลขาทนายภูวรินทร์

เลขาทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

คนพลาดพลั้ง

คนพลาดพลั้ง

ผู้เยี่ยมชม

15 ก.พ. 2554 15:36 #14

ผมมีเรื่องเรียนถามเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน๊ต ครับ

คือผมเป็นพนักงานในบริษัทแห่งนี้ แล้วผมได้เข้าไปในเวปของบริษัท แล้วได้โพสต์ข้อความลงในเวปบริษัทอะครับ

ผมไม่ได้ระบุว่าให้บุคคลใดบุคลหนึ่งโดยตรง อาจจะแค่ว่าให้บริษัทบ้าง เหมือนระบายอารมณ์ลงไปในข้อความนิดนึงครับ

แต่เวปของบริษัทนี้ไม่ได้มีห้องให้ตั้งกระทู้ คือคนอื่นที่เข้าไปดูเวปไซค์ของบริษัทนี้ จะไม่สามารถเห็นข้อความนี้ได้

นอกจากพนักงานที่รับผิดชอบอะครับ แบบนี้ถือว่าผิดในข้อหาหมิ่นประมาทไหมครับ หรือผิดในข้อหาอะไร

ถ้าผิด มีโทษยังไงบ้างครับ

--- กรุณณาตอบดว่นเลยนะครับ --- ไม่สบายใจมากเลยครับ --

คนพลาดพลั้ง

คนพลาดพลั้ง

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

15 ก.พ. 2554 18:29 #15

ตอบคำถามคุณคนพลาดพลั้งดังนี้ครับ
            ลักษณะความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นอย่างไร
                 หมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื้นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
                คำว่า “ใส่ความ”หมายถึงการยืนยันข้อเท็จจริง  หรือกล่าวยืนยันความจริง  หรือความเท็จ หรือเอาเรื่องไม่จริงไปแต่งความใส่ร้าย  หรือเอาเรื่องจริงไปกล่าว ก็เป็นความผิด เรียกว่า ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท  หรือแม้แต่การเล่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาไปพูดให้บุคคลอื่นฟังก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้  สำหรับข้อความจะเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาตามความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไป มิใช่พิจารณาถึงความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว
              ส่วนการกล่าวข้อความที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้อื่นที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น การกล่าวถึงผู้หนึ่งผู้ใดในกลุ่มบุคคลโดยไม่ได้เจาะจงว่าหมายถึงผู้ใดโดยเฉพาะ และถ้อยคำที่กล่าวไม่อาจเข้าใจได้ว่าหมายถึงผู้ใด จึงไม่เป็นหมิ่นประมาท
              ส่วนข้อเท็จจริงที่จะเป็นหมิ่นประมาท  หรือการใส่ความนั้นพอจะสรุปตามแนวคำวินิจฉัยศาลฎีกาได้ดังนี้  - ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นคำหยาบ  หรือเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้          - ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน  ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คลุมเครือ หรือเลื่อนลอยหรือกล่าวด้วยความน้อยใจ         - ข้อเท็จจริงที่กล่าวนั้น  ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันในอดีตหรือปัจจุบันไม่ใช่เพียงการคาดคะเน  หรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต  แต่กรณีแสดงความคิดเห็นบางอย่างแม้จะเป็นการแสดงความคิดเห็นในอนาคต  แต่หากฟังแล้วทำให้เข้าใจว่าในปัจจุบันเป็นเช่นไร  ก็ย่อมเป็นหมิ่นประมาทได้
            ข้อความที่จะเป็นการจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องเป็นข้อความที่ทำให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง   อาทิเช่น เป็นการใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติ, เป็นการใส่ความเกี่ยวกับเรื่องประเวณี หรือการอันไม่สมควรทางเพศ, เป็นการใส่ความเกี่ยวกับหน้าที่การงาน หรือเป็นการกล่าวถึงความไม่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ   ทางการเงิน เป็นต้น
          ในส่วนของคำถามคุณคนพลาดพลั้งว่าจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ผมไม่อาจตอบได้เพราะไม่เห็นข้อความที่คุณเขียน จึงวินิจฉัยไม่ได้ และคำถามที่ว่าคดีหมิ่นประมาทมีโทษอย่างไรบ้าง ก็สามารถอ่านได้จากหัวข้อนี้ครับ ส่วนศาลจะพิพากษาลงโทษเท่าใด หรือจะถูกจำคุกหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล พฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งความผิดครับ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

คนพลาดพลั้ง

คนพลาดพลั้ง

ผู้เยี่ยมชม

15 ก.พ. 2554 23:18 #16

ขอบคุณครับ คุณทนายภูวรินทร์

คือผมยังติดที่ว่า

หมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื้นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

กรณีของผมคือว่า คอมเม้นท์ที่ผมส่งไปนั้น มันไม่ได้เป็นเหมือนกระดานกระทู้ทั่วๆไป ที่คนอื่นสามารถอ่านหรือรับรู้ได้เลย

จะมีเพียงแต่พนักงานที่รับผิดชอบหรือพนักงานที่สามารถเข้าไปอ่านข้อความนั้นๆได้ ดังนั้น ถือว่าผมผิดในที่ว่า การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม
อยู่หรืไม่ ถ้าผมผิด ผมพอจะมีทางออกหรือทางแก้ไขได้ไหมครับ ช่วยบอกทีนะครับ

ขอขอบคุณมากๆๆครับ

คนพลาดพลั้ง

คนพลาดพลั้ง

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

16 ก.พ. 2554 21:20 #17

           ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติว่า บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สึกสำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
          ดังนั้น การกระทำโดยเจตนาจึงมี 2 ประการ คือ 1.เจตนาประสงค์ต่อผล เช่น ใช้ก้อนหินทุบทำร้ายผู้อื่นโดยตรง  และ 2. เจตนาเล็งเห็นผล ยกตัวอย่างเช่น ปาก้อนหินเข้าไปในรถบัสที่มีผู้โดยสาร คนร้ายจะอ้างเพื่อไม่ต้องรับโทษว่าไม่ได้เจตนาที่จะทำให้ผู้ใดได้รับบาดเจ็บไม่ได้ เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำโดยเจตนาเล็งเห็นผลซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายได้
          ส่วนการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทกฎหมายบัญญัติว่า ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ดังนั้น บุคคลที่สามจะเป็นใครก็ได้ ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นบุคคลทั่วไปเท่านั้นที่ได้อ่านจึงจะเป็นความผิดอย่างที่คุณเข้าใจ พนักงานที่รับผิดชอบหรือพนักงานที่สามารถเข้าไปอ่านข้อความนั้น ๆ  ได้แม้มีเพียงคนเดียวก็ถือเป็นบุคคลที่สามแล้ว ฉะนั้น การที่คุณเขียนข้อความอันเป็นการใส่ความผู้อื่น (หากมีลักษณะหมิ่นประมาทผู้อื่น) แม้จะมีเพียงพนักงานที่สามารถเข้าไปอ่านข้อความนั้นได้ ก็ถือเป็นการกระทำผิดโดยเจตนาประสงค์ต่อผลแล้ว ไม่ใช่เจตนาเล็งเห็นผล มีความรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เหมือนกัน
          หากคุณผิดจริง คุณก็ต้องกล้ายอมรับผิดอย่างลูกผู้ชาย ขอโทษผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และกระทำการที่แสดงให้เห็นว่าได้รู้สึกสำนึกในการกระทำความผิด หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีที่ศาล คุณก็จะได้รับผลของการยอมรับผิด และอาจไม่ถึงขนาดต้องถูกจำคุกจริง ๆ แต่ต้องเสียค่าปรับ ส่วนโทษจำคุกศาลอาจรอการลงโทษไว้

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

อั้ม

อั้ม

ผู้เยี่ยมชม

2 มี.ค. 2554 09:17 #18

ถึง ทนายภูวรินทร์

ดิฉันมีเรื่องกลุ้มใจมากค่ะ มีคนจะไปแจ้งความดิฉันค่ะขอหาหมิ่นประมาณ เพราะดิฉันไปโพสต์ข้อความลงในเฟสบุ๊คอ่ะคะ แล้วดิฉันได้ใช้เป็นนามสมมุติเค้าอ่ะคะ แต่เค้าเข้ามาดูในเฟสของดิฉัน แต่คนทั่วไปไม่ทราบว่าเป็นใคร มีแค่ดิฉันกับเค้าเท่านั้นที่รู้ว่าข้อความที่ดิฉันพิมพ์ลงไปหมายถึงใครอ่ะคะ ช่วยให้คำตอบทีนะคะ ว่าต้องทำยังไงบ้างคะ

อั้ม

อั้ม

ผู้เยี่ยมชม

มัณฑิกา

มัณฑิกา

ผู้เยี่ยมชม

2 มี.ค. 2554 23:42 #19

ค่ะ มีเรื่องอยากสอบถามเหมือน คือเรื่องคือหนูเป็นนักศึกษามหาลัยเเล้วนะค่ะ เเล้วในกลุ่มหนูมีทั้งหมด 7คน จากตอนเเรกหนูเเละเพื่อนๆคุยกันดี สนิทถึงขั้นว่าไปมาหาสู่กันเเละมานอนที่คอนโดหนูเองเป็นบางครั้ง จนอยู่มาวันหนึ่งมีการโพสข้อความลงในเฟสบุ๊คของเพื่อนคนหนึ่งออกเเนวจิกกัด เเต่ตัวหนูเองไม่รู้ว่าเป็นใคร จนมาวันหนึ่งหนูคิดว่ามันน่าจะมีอะไรเเน่นอน หนูเลยไม่ได้คุยกับพวกเพื่อนๆจนคราวนี้พวกเค้าเอง ลบหนูออกจากเพื่อนในเฟสบุ๊ค เเล้วพวกเพื่อนทั้ง 6 คนมีการพิมพ์เเละเม้นตอบกันกับเรื่องนี จนพี่สาวดิฉันเค้าได้มาเจอบนกระดานเฟสออกเเนวว่า สงสัยจะมีคนอยากโดนเท้า เเต่หนูไม่ได้ตอบโต้อะไรไปนะค่ะ จนมาล่าสุด เพื่อนคนหนึ่งได้โทมาเเละบอกว่าจะเข้ามาเอาของที่เค้าเคยเอามา เเต่เค้าให้หนูเอาลงไปไห้ เเล้วหนูบอกว่าขึ้นมาเอาสิ เเต่เค้าบอกว่าเอาลงมาให้เพราะเค้าไม่อยากขึ้นไป เค้าบอกว่าเอาของคนอื่นไปยังไม่กล้าลงมาอีก เพราะที่หนูไม่ลงไปคือ พวกเค้ามีคนนอกมาด้วยค่ะมาประมาณ 8 คน ชายสองนอกนั้นผู้ ญ หมดค่ะ สักพักอยู่ๆพวกเค้าก็มาเคาะประตูเเต่มีคนโผล่หน้ามาเเค่คนเดียว จนหนูได้ไปถามกับทางคอนโดว่าตอนที่มีคนขึ้นมา ไม่ทราบว่ามีกี่คน หนูถึงได้รู้ว่าเค้าเอาพวกมาเพื่อจะหาเรื่อง เเต่เรื่องไม่จบเเค่นั้นค่ะ เพราะเวลาหนูไปมหาลัยในกลุ่มที่มาหาเรื่องหนูไม่มีใครพูดเรื่องอะไรหรอจะมองหน้าหนูเลย เเต่พวกเค้าจะโพสในหน้ากระดานของตัวเองมากกว่า ว่าหนูไม่กล้าเเละเอาของของคนอื่นไปยังไม่คืนอีก หนูอยากทราบว่าหนูสามารถฟ้องได้หรือเปล่าค่ะ เพราะหนูมีรูปถ่ายที่หนูถ่ายหน้าหระดานเฟสบุ๊คเค้าไป เเละข้อความต่างๆที่เค้าเม้นกันนอกเหนือจากคนในกลุ่ม ช่วยหนูด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

มัณฑิกา

มัณฑิกา

ผู้เยี่ยมชม

am'z TRUE

am'z TRUE

ผู้เยี่ยมชม

3 มี.ค. 2554 20:58 #20

คืออยากทราบว่าถ้ามีคนมาด่าเราในเฟสบุ๊ค ด้วยข้อความว่าควยอีกระหรี่ (ขอโทษด้วยนะคะที่ต้องใช้คำไม่สุภาพ) เราสามารถเอาเรื่องกับเขาได้ไหมคะ?
ดิฉันได้เก็บหลักฐานไว้แล้ว แล้วก็ทราบชื่อจริงของเขาด้วย เนื่องจากว่าเขาใช้ชื่จริงตัวเองตั้งเฟสบุ๊คค่ะ
ช่วยตอบด้วยนะคะ

am'z TRUE

am'z TRUE

ผู้เยี่ยมชม

อนชต

อนชต

ผู้เยี่ยมชม

14 มี.ค. 2554 14:44 #21

ผมอยากเรียนถาม ท่านทนายภูวรินทร์ ครับ

มีสมาชิกคนหนึ่ง ในเวปบอร์ดแห่งหนึ่ง ส่งข้อความมาด่าผม " ผมไม่รู้จะพูดกับคุณดี มีข้อสงสัยอยากถามคุณว่า

พ่อเมิงตายครับ "
เรือ่งเกิดจาการไม่เข้าใจกัน แต่ย้ำว่าผมโดนด่าว่่า ไอ๊ปัญญาอ่อน ผมเลย พีเอ็มไปถาม แต่เขาตอบกลับมาแบบนี้

ไม่ทราบว่า คดีนี้ทำได้ไหมครบ โทษขนาดไหน

อนชต

อนชต

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้