ทัศไนย

ทัศไนย

ผู้เยี่ยมชม

  ขอความกรุณาปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการชำระหนี้หน่อยครับ (1228 อ่าน)

27 พ.ค. 2557 10:03

ผมมีสัญญาการชำระหนี้ฉบับหนึ่ง ซึ่งพิมพ์ขึ้นมาเอง ประมาณแบบนี้นะครับ

http://image.ohozaa.com/view2/xC7GeDQWQtCqdatM


ตอนนี้ผู้ชำระหนี้ยังไม่มาชำระหนี้เลย ครับ อยากทราบว่าด้วยแบบฟอร์มนี้สามารถเอาความผิดกับเขาได้ไหมครับ

เรื่องเป็นแบบนี้ครับ เขาไม่ได้ยืมเงินไปนะครับ แต่ยักยอกทรัพย์สินของทางร้านผมไป แต่ว่าพอจับได้เลยให้ออก

จากงานและได้ทำการคุยกันว่าเขาจะต้องนำเงินที่เอาไปมาใช้คืน และจะไม่แจ้งความเอาเรื่อง แต่ตอนนี้ติดต่อ

เขาไม่ได้ทางหัวหน้าผมก็ร้อนใจจะให้ผมไปแจ้งความตอนนี้เลย ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ แล้วถ้าจะไปแจ้ง

ความควรไปแจ้งข้อหาอะไรดีครับ (ผมไม่เคยไปแจ้งความเลยครับ)ขอรบกวนหน่อยนะครับ

ทัศไนย

ทัศไนย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

27 พ.ค. 2557 11:46 #1

         แบบฟอร์มดังกล่าว หากเป็นเรื่องทางแพ่งที่ต้องรับผิดชอบต่อกันก็สามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และหากไม่ชำระหนี้ก็สามารถฟ้องร้องทางแพ่งบังคับให้ชำระหนี้ได้ แต่ว่ายอดเงินน้อย การฟ้องศาลไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเพราะค่าใช้จ่ายเยอะเหมือนกัน เพราะต้องเสียค่าขึ้นศาล ค่าส่งหมาย หรือเสียค่าจ้างทนายความฟ้อง
         ความจริงเป็นเรื่องการยักยอกที่เป็นความผิดอาญามีโทษจำคุก เมื่อจับได้ควรจะไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญากับตำรวจข้อหายักยอก ซึ่งจะมีสภาพบังคับที่ดีกว่าการทำสัญญาชำระหนี้กันเอง เพราะหากไม่ชำระหนี้ก็ถูกฟ้องคดีอาญามีสิทธิติดคุกได้ คนที่ทำผิดมักจะยอมชำระหนี้โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง
        แต่การที่คุณไปทำหลักฐานชำระหนี้ตามแนบดังกล่าว อาจทำให้คดีอาญา เฉพาะความผิดต่อส่วนตัว เช่น ยักยอก ฉ้อโกง เป็นต้น กลายเป็นคดีแพ่ง เพราะการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือเปลี่ยนเป็นหนี้ใหม่ ทำให้หนี้เก่าระงับ จะทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาในคดีความผิดต่อส่วนตัวระงับ พูดง่ายๆคือไม่มีสิทธิไปแจ้งความหรือฟ้องคดีอาญาต่อศาลอีกแล้ว หรือฟ้องไป จำเลยก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ เมื่อเป็นดังนั้นศาลจะพิพากษายกฟ้องหรือจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ทำให้ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบไปเลย ดังนั้น การทำสัญญาหรือบันทึกกันเองจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
        สัญญาหรือบันทึกชำระหนี้ต่าง ๆ เป็นเรื่องทางแพ่ง ที่มีสภาพบังคับเฉพาะเรื่องทรัพย์สิน ไม่ใช่คดีอาญามีโทษจำคุก หากยอดเงินเยอะ ๆ ก็คุ้มค่ากับการฟ้องคดี
        ส่วนคดีความผิดอาญาเช่นยักยอกหรือลักทรัพย์ของนายจ้าง ควรจะไปร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นการดีมากกว่าการทำบันทึกกันเอง (ยกเว้นทำบันทึกยอมรับว่าได้กระทำผิดจริงและจะชดใช้เงินคืนให้) 
        การร้องทุกข์ ภาษาพูดเรียกว่า แจ้งความ คือการไปเล่ารายละเอียดการทำผิดให้ตำรวจร้อยเวรฟัง และไม่ต้องระบุข้อหา หรือตั้งข้อหา เพราะเป็นหน้าที่ของตำรวจ ประชาชนผู้เสียหายมีหน้าที่แค่เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง หากมีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารอ้างอิงก็นำไปด้วย เมื่อตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวนรับฟังแล้ววินิจฉัยพยานหลักฐานว่าเป็นความผิดอาญาฐานใด ก็จะดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป หากเป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น คดียักยอก ตำรวจก็จะเรียกให้ผู้ถูกกล่าวหามาชำระเงินคืนให้แล้วตกลงจบคดีกันไป ได้เงินคืนง่ายกว่าบันทึกชำระหนี้ที่คุณทำ หากเป็นคดีอาญาแผ่นดิน เช่น ลักทรัพย์นายจ้าง (มีโทษจำคุกห้าปี) ก็จะดำเนินคดีตามขั้นตอนกฎหมาย ผู้เสียหายอาจได้เงินคืน หรือผู้ทำผิดอาจติดคุก
        อย่างไรก็ตาม บันทึกชำระหนี้ของคุณดังกล่าว ยังไม่ได้ตกลงสละสิทธิ์ดำเนินคดีอาญา ดังนั้น จึงยังสามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ทัศไนย

ทัศไนย

ผู้เยี่ยมชม

27 พ.ค. 2557 12:09 #2

ขอบคุณมากครับ แสดงว่าให้ไปแจ้งความคดียักยอกทรัพย์ดีกว่าใช่ไหมครับ แต่เรื่องมันผ่านมาหลายเดือนแล้วผมเลยไม่กล้าไปแจ้งความครับ เพราะกลัวเจ้าหน้าที่จะถามกลับมาว่า ทำไมพึ่งมาแจ้งความครับ อีกอย่างผมมีภาพจากกล้องวงจรปิด ตอนที่เขาทำด้วยครับ คิดว่ายังไงก็คงเอาผิดได้แน่นอน แต่ติดว่าเรื่องมันผ่านมานานแล้วนี่ละครับ ยังไงขอรบกวนอีกทีนึงนะครับ ขอบคุณมากๆเลยครับ

ทัศไนย

ทัศไนย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

27 พ.ค. 2557 12:22 #3

       คุณไม่ได้เล่ารายละเอียดให้ชัดเจนว่าลูกจ้างทำอย่างไรลักษณะไหน
       ดังนั้นต้องดูว่า ลูกจ้างคุณมีหน้าที่อะไร หากเป็นการแอบเอาสินค้าไป ก็อาจเป็นเรื่องลักทรัพย์นายจ้าง ไม่ใช่ยักยอก เช่น ลูกจ้างมีหน้าที่ขายสินค้าและนำเงินส่งนายจ้าง หากเป็นเอาเงินไปอาจเป็นเรื่องยักยอก แต่หากเป็นการเอาสินค้าไป ก็อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะสินค้าอยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ลูกจ้างมีหน้าที่แค่ขายเท่านั้น หรือแม้แต่เงินก็ตาม หากเงินอยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ลูกจ้างมีหน้าที่แค่ดูแลและส่งมอบ ก็อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้เช่นกัน ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป กรณีเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง ก็ยังสามารถแจ้งความได้ครับ
      

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ทัศไนย

ทัศไนย

ผู้เยี่ยมชม

27 พ.ค. 2557 13:01 #4

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ (เขาเอาเงินโดยการรับเงินจากลูกค้า แต่ไม่ยิงสินค้าเข้าเครื่องครับ พอดีร้านผมใช้ระบบบาร์โค้ดเหมือน 7-11 ครับ พอตอนตัดเงินเขาก็เอาเงินส่วนที่เกินออกไปครับ มองจากกล้องวงจรปิดจะเห็นการกระทำชัดเจนครับ แสดงว่าเป็นการยักยอกใช่ไหมครับ) ยังไงก็ขอขอบคุณมากๆครับ ผมคงต้อง เตรียมตัวไปแจ้งความแล้วล่ะครับ ตอบได้รวดเร็วและชัดเจนมากๆครับ ขอบคุณจากใจครับ:h:

ทัศไนย

ทัศไนย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

27 พ.ค. 2557 13:29 #5

ตอบคุณทัศไนยแบบชัด ๆ นะครับ (พอดีว่าง ๆ อยู่เลยตอบไวรวดเร็วทันใจ หากไม่ว่างก็อาจตอบช้าครับ)
      คุณทัศไนยสรุปเองว่าเป็นยักยอก ทำให้คดีมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี และเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อคุณไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่ทราบเรื่อง คดีก็ขาดอายุความ ตั้งเรื่องแบบเสียเปรียบเชิงคดี
      แต่หากคุณตั้งเรื่องว่า ลูกจ้างมีหน้าที่ขายสินค้า รับเงินจากลูกค้า และส่งมอบเงินให้คุณแบบวันต่อวัน ลูกจ้างไม่มีอำนาจยึดถือเงินไว้เกินหนึ่งวัน หรือหากในระหว่างวันคุณเข้าไปเช็คยอดเงินจากเครื่องก็จะเก็บเงินออกไปก่อน ลูกจ้างจึงยึดถือเงินไว้แทนนายจ้างแบบชั่วคราวแบบวันต่อวันเท่านั้น ไม่ได้ส่งมอบการครอบครองเงินให้ลูกจ้างยึดถือไว้นานเท่าใดก็ได้แต่อย่างใด การที่ลูกจ้างเอาเงินไปไม่ว่าด้วยกลวิธีใด รูปเรื่องก็จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หนักกว่าคดียักยอก และเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ไม่สามารถยอมความกันได้ และอายุความในการดำเนินคดี 10 ปี
      แบบนี้อันไหนจะดีกว่ากัน เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆแล้ว ว่าคุณจะต้องทำอย่างไรที่ดีกว่ากันระหว่างข้อหายักยอก กับลักทรัพย์นายจ้าง

      ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2542 "จำเลยเป็นพนักงานของผู้เสียหาย มีหน้าที่รับจ่ายเงินสดแทนผู้เสียหายจึงมีอำนาจยึดถือเงินสดของผู้เสียหายไว้เพียงชั่วระยะเวลาทำการ ผู้เสียหายหาได้ส่งมอบเงินสดให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ เมื่อจำเลยเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
       ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ลงโทษจำคุก 4 ปี
      ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
      จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาวินิจฉัยเป็นประการสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง หรือเป็นเพียงความผิดฐานยักยอก เห็นว่า จำเลยเป็นพนักงานของผู้เสียหาย มีหน้าที่รับจ่ายเงินสดแทนผู้เสียหาย จำเลยมีอำนาจยึดถือเงินสดของผู้เสียหายไว้เพียงชั่วระยะเวลาทำการ พฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการที่จำเลยยึดถือเงินสดเพื่อผู้เสียหาย ผู้เสียหายหาได้ส่งมอบเงินสดให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ เมื่อจำเลยเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิ อันเป็นการทุจริตจำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสอง"
       
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ทัศไนย

ทัศไนย

ผู้เยี่ยมชม

27 พ.ค. 2557 16:02 #6

ขอบคุณอีกครั้งนึงนะครับ ตาสว่างเลยครับ ขอบคุณครับ

ทัศไนย

ทัศไนย

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้