อนุชลี

อนุชลี

ผู้เยี่ยมชม

kimigoe@hotmail.com

  ยื่นเรื่องลาออกตามระเบียบ30วันแล้ว แต่กลับจะถูกให้ออกก่อนกำหนด จะทำอย่างไรดีคะ (6356 อ่าน)

9 ธ.ค. 2554 19:01

1.คือหนูทำงานอยู่บริษัทเคเบิลทีวีท้องถิ่นแหงหนึ่ง สมัครงานเข้ามาในตำแหน่งธุรการข่าว(วันที่ 26 พ.ย.54) ทำอยู่ได้จนครบ3เดือนก็ถึงกำหนดประเมินผ่านโปร (ช่วงระยะทดลองงานหนูเผลอเถียง บ.ก.ข่าวไปบ้าง) บ.ก.จึงเรียกมาแจ้งว่ายังไม่ผ่านโปร ขอต่อไปอีก 3 เดือน ตอนนั้นหนูไม่คิดอะไรจึงเซ็นยินยอมไป พอผ่านมาอีกเพียงแค่ 2 เดือน บ.ก.แจ้งว่าหนูมีความประพฤติดีขึ้นจึงให้ผ่านโปร หนูจึงได้บรรจุเข้าเป็นพนักงาน
2.พอทำงานมาจนถึงวันที่ 23 ก.ย.54 หนูจึงได้ทราบข่าวว่าตนเองถูกยุบตำแหน่ง ลงมาอยู่การตลาด โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าแม้แต่ทางวาจาหรือลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทแต่อย่างใด และให้มีผลในวันที่ 26 ก.ย.54 จากนั้นวันที่24 ก.ย.54 ก็มีเอกสารการย้ายตำแหน่งของหนูมาติดที่กระดานข่าวพนักงานโดยมีลายเซ็นผู้จัดการและฝ่ายบุคคล แต่ไม่มีลายเซ็นของหนู ตอนนั้นก็คิดว่าไม่เป็นอะไรจึงยอมย้ายลงมาแต่โดยดี ต่อมาจึงได้ทราบว่าบ.ก.ได้เตรียมคนของตัวเองเข้ามาทำงานในตำแหน่งนักข่าวประจำสำนักงาน(ตำแหน่งที่อุปโหลกขึ้นมาใหม่)โดยมีหน้าที่หลักเหมือนที่หนูเคยทำอยู่ทุกประการ เรื่องนี้ทำให้เสียความรู้สึกมาก แต่เป็นคนที่ไม่คิดอะไรจึงปล่อยผ่านไป
3.ตอนที่ถูกย้ายลงมาการตลาด หนูต้องมาทำหน้าที่แทนพนักงานที่ลาคลอดไป จนวันที่ 15 พ.ย.54 พนักงานคนนั้นก็กลับมาทำงานตามปกติ หนูจึงถูกให้ออกไปแจกใบปลิวตามบ้านและทำยอดขายให้ได้เดือนละ 15 ราย ซึ่งก็ไม่มีเอกสารใดๆ ซ้ำยังแจ้งล่วงหน้าเพียงแค่ 3 ชั่วโมง ข้อนี้หนูอยากถามว่าหนูมีสิทธิ์ปฏิเสธงานนี้มั้ยคะ เพราะหนูไม่ถนัดงานด้านนี้เลย ต่อมาจนถึงวันที่ 23 พ.ย.54หนูทนไม่ไหวเลยยื่นใบลาออก โดยมีผลวันที่ 26 ธ.ค.54 ตามระเบียบทุกประการ จนมาถึงวันที่ 9 ธ.ค.54 ดิฉันป่วยจึงโทรไปลากับหัวหน้างาน แต่พอตกเย็นฝ่ายบุคคลกลับโทรมาแจ้งว่าบริษัทจะเลิกจ้างโดยจ่ายค่าจ้างตามวันที่ไปทำงานจริง และจ่ายเงินประกันพนักงานคืนให้ ซึ่งอ้างเหตุผลว่าเราไม่มีใจทำงานให้บริษัทแล้ว ทำงานให้บริษัทไม่เต็มที่ โดยที่หนูไม่เคยถูกตักเตือนด้วยวาจา หรือได้ใบเตือนในเรื่องนี้มาก่อนแม้แต่ครั้งเดียว

ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทุกข้อ หนูอยากทราบว่าบริษัทมีความผิดหรือไม่ จะฟ้องร้รองได้ที่ไหน อย่างไรบ้าง ส่วนข้อที่บริษัทจะให้ออกก่อนกำหนดนั้น อยากทราบด้วยว่าจะมีผลต่อประวัติการทำงานของเราหรือไม่
หากกรุณาตอบคำถามจะเป็นพระคุณยิ่ง

182.53.147.74

อนุชลี

อนุชลี

ผู้เยี่ยมชม

kimigoe@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

10 ธ.ค. 2554 18:26 #1

ตอบคุณอนุชลี
         ปัจจุบันกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้มีการแก้ไขใหม่โดยให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงาน เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น หากนายจ้างจะเลิกจ้างก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายด้วย และแม้ต่อมานายจ้างจะบรรจุให้เป็นพนักงานแล้วก็ตาม หากไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ ก็ย่อมเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ ซึ่งตามกฎหมายการเลิกสัญญา ย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาดังกล่าวนั้นเมื่อแสดงเจตนาไปแล้วก็จะขอยกเลิกเพิกถอนไม่ได้  
        การเลิกจ้าง หมายความว่าการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ดังนั้น นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องอ้างเหตุผลใด ๆ ก็ได้ แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย และหากนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง โดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
        (1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 
        (2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน 
        (3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 
        (4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี  แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน 
        (5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน 
        แต่หากลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง หรือลาออกเอง ลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับชดเชย นายจ้างบางรายที่ต้องการจะไม่จ่ายค่าชดเชยจึงมักจะบีบบังคับให้ลูกจ้างลาออกเอง เพราะจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ลูกจ้างแม้จะถูกนายจ้างบีบบังคับด้วยประการต่าง ๆ ก็ไม่ควรที่จะลาออก หรือลงชื่อในเอกสารลาออก ให้นายจ้างมีหนังสือหรือบอกเลิกจ้างเองเพื่อจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย  หากนายจ้างไม่ยอมเลิกจ้างเอง แต่ใช้วิธีข่มขู่ หรือบีบบังคับ ก็ไม่ต้องใจอ่อน หรือหลงกลนายจ้าง เนื่องจากหากลูกจ้างไม่ยอมลาออกนายจ้างก็ทำอะไรไม่ได้ ส่วนการที่นายจ้างบีบบังคับโดยการลดตำแหน่งงานตามที่สอบถามมานั้น ลูกจ้างก็มีสิทธิร้องเรียนนายจ้างได้ที่สำนักงานคุ้มครองแรงงานจังหวัดหรือเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการของนายจ้างตั้งอยู่ได้ เจ้าพนักงานแรงงานจะดำเนินการให้ความยุติธรรม และมีคำสั่งเอง หากเจ้าพนักงานมีคำสั่งแล้ว นายจ้างต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้น จะมีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย 
        ข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณได้ยื่นหนังสือลาออกแล้ว แต่กลับปรากฏว่า ในช่วงก่อนที่จะครบกำหนดตามหนังสือลาออก นายจ้างได้เลิกจ้างอีกครั้งหนึ่งนั้น กรณีเช่นนี้จึงมีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่า สัญญาจ้างแรงงานได้สิ้นสุดลงแล้วหรือไม่  ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องพิจารณาก่อน เพราะหากสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้วด้วยการบอกเลิกสัญญาของคุณซึ่งเป็นลูกจ้าง ก็ไม่จำต้องพิจารณาว่า การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 
        ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 บัญญัติว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา หรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การแสดงเจตนาดังกล่าวนั้น ท่านว่าหาอาจถอนได้ไม่"
        เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การที่คุณยื่นใบลาออก  ถือเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน และเมื่อคุณเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ ดังนั้น การลาออกของคุณจึงมีผลใช้บังคับตามที่คุณได้แจ้งความประสงค์ไว้ และเมื่อคุณได้แสดงเจตนาลาออกไปแล้วก็ไม่อาจจะถอนเจตนาได้ แม้ว่าก่อนครบกำหนดลาออกของคุณ นายจ้างจะให้คุณออกจากงานก่อนครบกำหนดก็ไม่ทำให้การลาออกของคุณเสียไป หรือเปลี่ยนไปเป็นการเลิกจ้าง แต่หากการกระทำของนายจ้างนั้นอาจทำให้คุณได้รับความเสียหาย ก็คงมีเพียงเท่าที่คุณจะไม่ได้รับค่าจ้างจนกระทั่งถึงวันที่ครบกำหนดลาออกเท่านั้นเอง ซึ่งหากนายจ้างจ่ายเงินจนครบกำหนดแล้ว คุณก็ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิอื่นใดได้อีก และไม่มีผลเสียต่อประวัติการทำงานแต่อย่างใด แต่หากต้องการเรียกร้องก็สามารถไปร้องเรียนที่สำนักงานคุ้มครองแรงงาน หรือไปปรึกษานิติกรประจำศาลแรงงานประจำจังหวัด เพื่อทำคำฟ้องยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เมื่อฟ้องไปก็จะมีการไกล่เกลี่ย ซึ่งอาจมีการตกลงที่เป็นประโยชน์กับคุณได้

171.7.99.252

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

อนุชลี

อนุชลี

ผู้เยี่ยมชม

kimigoe@hotmail.com

11 ธ.ค. 2554 17:45 #2

ขอบคุณค่ะ ถ้าไม่มีความเสียหายต่อประวัติการทำงานในอนาคต ดิฉันก็เบาใจ กลัวก็แต่ว่าทางบริษัทจะมาเอาผิดทีหลังว่าดิฉันขาดงานไปเฉยๆ เพราะการให้ดิฉันหยุดงานไปเลยในครั้งนี้ไม่มีเอกสารยืนยันใดๆจากผุ้บริหารทั้งสิ้น ดิฉันกลัวว่าจะเกิดเหตุการประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนครั้งก่อนที่ดิฉันจะเข้ามาทำงานที่นี่ เคยมีพนักงาน(ที่ทำงานมาแล้ว 3 ปี)ถูกให้ออก แต่ไม่มีเอกสารยืนยันใดๆ เป็นการบอกกล่าวจากฝ่ายบุคคลด้วยวาจาเท่านั้ ต่อมาภายหลังบริษัทไม่จ่ายค่าชดเชยที่บอกเลิกจ้างพนักงานโดยไม่มีความผิด และอ้างเหตุผลว่าพนักงานคนนั้นหายไปเฉยๆ ดิฉันจึงอยากเรียนถามต่อว่าดิฉันจะขอเอกสารยืนยันการให้หยุดงานครั้งนี้ไว้เป็นหลักฐานได้หรือไม่คะ ถึงแม้ดิฉันจะไม่มีสิทธิ์ได้ค่าชดเชย แต่ก็ต้องได้เงินประกันพนักงานคืนด้วยใช่มั้ยคะ (ทางฝ่ายบุคคลได้แจ้งมาแล้วว่าจะจ่ายเงินประกันคืนให้ พร้อมค่าแรงตามวันที่มาทำงาน)

101.109.35.222

อนุชลี

อนุชลี

ผู้เยี่ยมชม

kimigoe@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

12 ธ.ค. 2554 19:12 #3

ตอบคุณอนุชลี
            หากไม่มีเอกสารยืนยัน คุณก็สามารถกระทำการทุกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรได้เช่น การลาก็ทำเป็นเอกสาร ซึ่งดีกว่าการลาด้วยวาจา หรือการที่นายจ้างให้ออกจากงาน หรือเลิกจ้าง ก็ให้นายจ้างทำเป็นหนังสือ หรือมีการติดต่อกันทางอีเมลล์กับฝ่ายบุคคล เพื่อที่จะได้มีหลักฐานเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิคส์โต้ตอบกัน          
            ตามกฎหมายแรงงาน มีบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้าง โดยให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 ดังได้ตอบไปแล้ว  แต่ก็มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะลูกจ้างกระทำความผิด ตามมาตรา 119 ซึ่งบัญญัติว่า "นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
            (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
            (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
            (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
            (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
           หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
            (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
            (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ"
            นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติว่า "กรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้"   หมายความว่า หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยไม่ได้อ้างเหตุผลว่าเลิกจ้างลูกจ้างด้วยสาเหตุใดในขณะที่มีการเลิกจ้าง ต่อมานายจ้างจะอ้างเหตุผลนั้น หรือเหตุผลอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ เพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าชดเชยในภายหลังไม่ได้
            ดังนั้น การใด ๆ ที่จะทำให้คุณไม่สบายใจก็ต้องป้องกันไว้ก่อนเสมอด้วยการขอหลักฐาน หรือพยายามสร้างพยานหลักฐานทุกครั้ง 

171.7.218.146

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

อนุชลี

อนุชลี

ผู้เยี่ยมชม

kimigoe@hotmail.com

12 ธ.ค. 2554 23:05 #4

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ดิฉันจะพยายามขอหนังสือมาเป็นหลักฐานไว้ให้ได้

182.53.153.239

อนุชลี

อนุชลี

ผู้เยี่ยมชม

kimigoe@hotmail.com

paramol

paramol

ผู้เยี่ยมชม

pattra171@gmail.com

24 พ.ค. 2556 16:47 #5

ยื่นใบลาออก สิ้สุด20 มิ.ย. แค่ถ้านายจ้างให้ออก 31 พ.ค.ขอถามดังนี้ค่ะ
เราต้องทำงานให้ถึง 20 มิย.หรือไม่
จะได้รับ
ค่าจ้าง 1-20มิ.ย.หรือเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะ

115.67.99.6

paramol

paramol

ผู้เยี่ยมชม

pattra171@gmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

25 พ.ค. 2556 22:53 #6


ตอบคำถามคุณ paramol
                การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายกำหนดให้แต่ละฝ่ายต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งช่วงระยะเวลาการจ่ายค่าจ้าง หากฝ่ายนายจ้างบอกเลิกไม่ชอบกฎหมายคือไม่ถึงหนึ่งช่วงการจ่ายค่าจ้าง ก็ต้องรับผิดจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง แต่สำหรับฝ่ายลูกจ้างไม่มีกฎหมายกำหนดความรับผิดส่วนนี้ไว้ เพียงแต่หากลาออกกระทันหัน ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า และทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจริง ๆ นายจ้างก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายตามจริงเท่านั้น ดังนั้น การบอกเลิกสัญญาของฝ่ายลูกจ้างจึงไม่เคร่งครัดมาก หากบอกเลิกสัญญาจ้างแล้วนายจ้างให้ลาออกทันทีก็สามารถทำได้ ไม่ต้องรอให้ถึงกำหนดตามหนังสือลาออกแต่อย่างใด 
               สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน คือ ลูกจ้างทำงานให้นายจ้างเพื่อจะได้รับค่าตอบแทน เมื่อไม่ได้ทำงานก็ไม่มีสิทธิได้รับเงิน
 

127.0.0.1

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

หยก

หยก

ผู้เยี่ยมชม

yolladaou@hotmail.com

9 พ.ค. 2557 19:58 #7

ขอ ถามหน่อยคะ ถ้าทางเจ้านายให้บอกลาก่อน เดือน ซื่ิงเราก็ทำตามสัญญา แต่นายจ้างบอกให้ออกก่อนที่ราเขียนไป เรามีสิทธิฟ้องได้ใช่ไหมคะ ตัวอย่าง คือจะลาออก เจียนใบลาออก 25 เม ย สิ้นสุด 26 พ ค เป็นต้น แต่เจ้านานบอกให้ทำถึง 15 พ ค อยากทราบว่าเรามีสิทธิ ทีจะฟ้องใช่ไหมคะ เพราะ ให้ออกก่อนกำหด และจะต้องได้ ค่าชดเชยด้วยใช่ไหมคะ

14.207.246.82

หยก

หยก

ผู้เยี่ยมชม

yolladaou@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

14 พ.ค. 2557 16:19 #8

ตอบคำถามคุณหยก
       การที่นายจ้างหรือลูกจ้าง จะขอเลิกสัญญาจ้างต่อกันนั้น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 บัญญัติว่า "ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกัน นานเท่าไร ท่านว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าว ล่วงหน้า ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้าง หน้าก็อาจทำได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน
อนึ่ง ในเมื่อบอกกล่าวดั่งว่านี้ นายจ้างจะจ่ายสินจ้างแต่ลูกจ้างเสีย ให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอก กล่าวนั้นทีเดียวแล้วปล่อยลูกจ้างจากงานเสียในทันที ก็อาจทำได้"
       ในส่วนของนายจ้างหากบอกกล่าวไม่ครบกำหนดจะต้องชดใช้เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย เพราะกฎหมายแรงงานจะคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ถูกเลิกจ้างกระทันหัน โดยไม่ทันตั้งตัว และระยะเวลาหนึ่งเดือนดังกล่าวก็เพื่อให้ลูกจ้างมีโอกาสไปเสาะแสวงหางานใหม่ได้ แต่ในส่วนของลูกจ้าง เมื่อยื่นหนังสือแสดงเจตนาลาออกแล้ว ย่อมเป็นไปตามเจตนาที่ได้แสดงออกไป แม้นายจ้างจะให้ออกก่อนครบกำหนดหนึ่งเดือน ก็สามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้ครบหนึ่งเดือนก่อน โดยจ่ายค่าจ้างจนถึงเวลาที่ทำงานจริง และไม่ใช่เป็นการที่นายจ้างเลิกจ้าง ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่ได้ค่าชดเชยตามกฎหมาย

14.207.63.198

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

heatless_aomzz

heatless_aomzz

ผู้เยี่ยมชม

merry_andrews@hotmail.com

6 ม.ค. 2558 15:48 #9

อยากทราบว่า ถ้าเราแจ้งลาออกไว้ 1เดือน แต่ออกก่อนครบกำหนด ที่แจ้งในใบลาออก นายจ้างจะสามารถฟ้องร้องเราได้มั้ยคะ
ตัวอย่างเช่น ยื่นใบลาออกในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 เพื่อให้มีผลในวันที่ 30 มกราคม 2558 แต่ทำงานถึงวันทีี 9 มกราคม 2558 เป็นวันสุดท้าย..

1.47.165.243

heatless_aomzz

heatless_aomzz

ผู้เยี่ยมชม

merry_andrews@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

7 ม.ค. 2558 22:24 #10

ตอบคำถามคุณ heatless_aomzz 
            การแสดงเจตนาลาออกจะเพิกถอนไม่ได้ ดังนั้น แม้จะลาออกโดยระบุวันที่มีผลไว้ล่วงหน้า แต่ความจริงทำงานต่อไปไม่ถึงกำหนดที่แจ้งไว้ การลาออกก็ยังมีผล ส่วนนายจ้างจะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า การที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหนังสือลาออกเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ เพราะหากยังมีพนักงานคนอื่นมาทำหน้าที่แทนอยู่ และนายจ้างไม่ได้รับความเสียหายใดๆ นายจ้างก็ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้รับความเสียหายที่แท้จริง กล่าวคือจะฟ้องโดยมโนเอาเองว่าเสียหายเท่านั้นเท่านี้ไม่ได้ 

171.6.14.225

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

kae

kae

ผู้เยี่ยมชม

pawadee19922435@gmail.com

17 ต.ค. 2559 21:48 #11

กรณีที่ที่ยื่นใบลาออก 20 กย. และลงระบุในใบลาออก เป็นวันที่ 31 ตค.
แต่ในระหว่างช่วงที่ลาออก นายจ้างบีบบังคับ ยัดเยียดความผิด
พูดกลับกลอกไปมา กดดันเรา เหมือนอยากให้เราออกก่อนวันที่ 31 ตค.
เพื่อที่จะไม่จ่ายค่าจ้าง กรณีแบบนี้ ถ้าออก 20 ตค. จะได้รับค่าจ้างหรือไม่
ไม่เอาค่าจ้างเต็มเดือน เอาเท่าวันที่มาทำงานก็ได้

มีกฏหมายคุ้มครองเราตรงนี้บ้างไหมค่ะ

1.46.166.11

kae

kae

ผู้เยี่ยมชม

pawadee19922435@gmail.com

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

21 ต.ค. 2559 20:57 #12

       เรื่องค่าจ้างนั้น เมื่อทำงานแล้วก็ต้องได้รับค่าจ้าง หากคุณออกก่อนที่ระบุไว้ ก็สามารถทำได้ แต่ต้องไม่ให้นายจ้างได้รับความเสียหาย คือ มีคนทำงานในหน้าที่นั้นแทนแล้ว เมื่อลาออกและออกก่อนวันที่ระบุ นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ จะอ้างไม่จ่ายไม่ได้ หากไม่จ่ายก็ไปร้องเรียนที่ สนง.คุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ได้ครับ

49.49.235.91

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

Noonoy

Noonoy

ผู้เยี่ยมชม

Moonoy_mali@hotmail.com

11 พ.ย. 2559 15:03 #13

หนูทำงานได้2เดือนมีสัญญาจ้างงานมีคนค้ำ2คน ออกจากงานแบบไม่ถูกต้อง ได้เงินเดือนแล้วออกไม่ได้เขียนใบลาออกแต่ในเวลางาน2เดือนยังไม่มีงานให้ทำผจก.บอกกำลังเตรียมระบบงานให้ สรุป2เดือนไม่ได้แต่งานเลยเหมือนนั้งเอาเงินเดือนหนูก็เลยออกมันจะมีผลกะคนค้ำมั้ย

27.55.40.162

Noonoy

Noonoy

ผู้เยี่ยมชม

Moonoy_mali@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

26 ก.พ. 2560 22:33 #14

****เนื่องจากทนายภูวรินทร์ ติดภารกิจศาลค่อนข้างมากไม่ได้เข้ามาตอบคำถาม****
จึงทำให้มีคำถามตกค้างเป็นจำนวนมาก      
ดังนั้น หากมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องการได้รับคำตอบแบบทันใด
​รบกวนโทรศัพท์มาปรึกษาเพื่อพูดคุยข้อเท็จจริงกันจะสะดวกรวดเร็วมากกว่าครับ
หากโทรไม่ติด หรือไม่ได้รับ อาจเป็นเพราะติดคดีความในศาล ให้โทรมาใหม่อีกครั้ง
หรือพูดคุยกันในไลน์ก็ได้ครับจะสะดวกรวดเร็วกว่า
ผมยินดีให้คำปรึกษาครับ
ทนายภูวรินทร์ Tel. 081-925-0144 หรือ ID.LINE 0819250144

49.49.238.29

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

โอลี่

โอลี่

ผู้เยี่ยมชม

Aowanjuree1990@gmail.com

22 ต.ค. 2560 13:58 #15

หนูทำงานมาได้ 2ปีเกือบจะ 3 ปีแล้วคะ ล่าสุดหนูเขียนใบลาออกวันที่ 12 ต.คระบุวันที่จะลาออก30 ธ.ค คะ แต่นายจ้างให้หนูออกไปเลยไม่ต้องมาทำงานแล้วเมื่อวันที่ 18 ต.ค กรณีนี้หนูจะได้เงินชดเชยจนถึงวันที่ระบุในใบลาออกมั้ยคะ

171.98.239.218

โอลี่

โอลี่

ผู้เยี่ยมชม

Aowanjuree1990@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้