ใหม่

ใหม่

ผู้เยี่ยมชม

2 ก.ค. 2561 15:34 #21

ผู้ตายได้เปลี่ยนจากสัญชาติเมียนม่ามาเป็นสัญชาติไทย แต่บิดามารดาของผู้ตายถือสัญชาติเมียนม่า บิดามารดาของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกมั้ยคะ

ใหม่

ใหม่

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

6 ก.ย. 2561 11:02 #22

ประกาศทราบ
​ช่วงนี้ทนายความไม่ได้เข้ามาตอบคำถามบ่อย หากมีปัญหากฎหมายที่ต้องการคำตอบเร่งด่วน รบกวนส่งคำถามมาที่อีเมลล์ phuwarinlawyer@hotmail.com หรือโทรศัพท์ หรือแอดไลน์มาพูดคุยสอบถามเบื้องต้นได้ก่อนนะครับ 
เบอร์โทร-ไอดีไลน์ 081-9250-144 (ใส่ - ด้วย)

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ขวัญ

ขวัญ

ผู้เยี่ยมชม

22 ก.ย. 2561 22:29 #23

รบกวนด้วยคะ..
แต่งงานจดทะเบียนสมรสกะสามีชาวอเมริกันยังไม่มีลูกด้วยกัน แต่ไม่ได้จดที่ประเทศไทย...ทางแม่จะยกมรดกให้เป็นที่ดิน(แบ่งกัน3คนพี่น้อง ลงชื่อรวมกัน)
1. ต้องบอกทางกรมที่ดินไหมว่าแต่งงานกะคนต่างชาติ
2. ถ้าเกิดตาย ไม่อยากสามีต่างชาติมาขอรับมรดกด้วย ต้องทำยังไง อยากให้มรดกอยู่กันในสายเลือดเท่านั่น(ไม่ว่าจะเป็นสามีน้อง หรือภรรยาน้อง) แต่ให้ตกกะทายาทได้เท่านั้น
3. ถ้าตัวเองเกิดมีลูกกะสามีต่างขาติ ถ้าลูกมีพาสปอร์ตไทย(ตั้งใจจำทำ).ลูกสามารถรับมรดกได้ไหม และถ้าลูกอายุไม่ถีง18 ต้องทำยังไง
ขอบคุณล่วงหน้ามากๆคะ
ถ้ามีค่าใช้จ่ายยังไงบอกทางอีเมล์ได้นะคะ
Kwanusa18@aol.com

ขวัญ

ขวัญ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

28 ก.ย. 2561 21:37 #24

ตอบคำถามคุณขวัญดังนี้
        1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเกี่ยวกับสินสมรส (ไม่ใช่สินส่วนตัว) ที่สามีภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง         
          มาตรา 1476   "สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
          (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
          (2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
          (3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
          (4) ให้กู้ยืมเงิน
          (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
          (6) ประนีประนอมยอมความ
          (7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
          (8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
          การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง"
        ดังนั้น การรับมรดกในระหว่างสมรส ถือเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสตามกฎหมายอยู่แล้ว  จึงไม่จำเป็นต้องแจ้งเรื่องการจดทะเบียนสมรส
        2. หลักกฎหมายเกี่ยวกับการรับมรดกของคู่สมรส
        ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
        (1) ถ้าผู้ตายมีทายาทชั้นผู้สืบสันดาน ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร คือ ได้รับส่วนแบ่งเท่ากับบุตร
        (2) ถ้าผู้ตายมีทายาทชั้นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
        (3) ถ้าไม่มีทายาทชั้นบุตร แต่มีทายาทชั้น บิดามารดาของผู้ตาย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
        (4) ถ้ามีทายาทชั้นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน หรือชั้นลุงป้าน้าอา หรือชั้นปู่ย่าตายาย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
        (5) ถ้าไม่มีทายาทรับมรดกเลย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
        ดังนั้น ถ้าหากคุณไม่ต้องการให้สามีชาวต่างชาติรับมรดก ก็ต้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่นตามที่คุณอยากให้
        3. หากคุณมีลูกกับสามีต่างชาติ ไม่ว่าบุตรจะมีหนังสือเดินทางไทยหรือไม่ บุตรก็มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายไทยอยู่แล้ว เพราะกฎหมายถือตามสายเลือด  และการรับมรดกไม่เกี่ยวกับอายุเท่าใด หรือต้องมีอายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ก่อนจึงจะมีสิทธิรับ บุตรที่เกิดมาแล้วอายุไม่ถึงขวบก็มีสิทธิรับมรดก เพียงแต่วิธีการรับต้องมีบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แสดงเจตนาแทนตามกฎหมาย และหากบุตรไม่มีสัญชาติไทยก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการรับมรดกของชาวต่างชาติเสียก่อนจึงจะรับได้ ซึ่งเป็นเฉพาะกรณีอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ส่วนทรัพย์สินอื่นๆก็สามารถรับได้อยู่แล้ว

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ดอกมะลิ

ดอกมะลิ

ผู้เยี่ยมชม

3 ม.ค. 2566 20:09 #25

สวัสดีค่ะ
ดิฉันแต่งงาน จดทะเบียนกับสามีชาวญี่ปุ่น ลูกคลอดที่ไทย เดินทางมาอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นปัจจุลูกอายุ 17 ปี
ยังไม่ได้ขอมีบัตรประชาชนค่ะ

อยากทราบว่ามีความจำเป็นหรือ ข้อดีข้อเสียของการที่ลูกทำบัตรประชนขนไทยรึไม่คะ
กลัวลูกจะเสียสัญชาติญี่ปุ่น แต่ก็กลัวลูกไม่มีสิทธิ์ได้รับมกดก(ที่ดิน) จากแม่

เคยเปิดบัญชีฝากเงินในบัญชีลูกโดยใข้พาสปอร์ตเล่มที่ทำก่อนเกณฑ์ทำบัตรประชนขน แต่ปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการใดๆได้เพราะพาสหมดอายุ (จะต่ออายุ/ทำพาสใหม้ได้ต้องทำบัตรประชาชนก่อน) แสดงว่าถ้าจะทำธุรกรรมใดๆให้ลูกต้องมีบัตรประชาชนเท่านั้นใช่มั้ยคะ

ขอโทษถ้าอาจจะฟังดูสับสน

ดอกมะลิ

ดอกมะลิ

ผู้เยี่ยมชม

บัวทิพย์

บัวทิพย์

ผู้เยี่ยมชม

26 ม.ค. 2566 09:05 #26

รบกวนถามคะญาติคือ​หญิงไทยอยู่กับสามีที่ประเทศเดนมากร์ได้ประมาณ​30ปีมาแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน​แต่ญาติมีลูกกับสามีคนก่อนซึ่งเป็นชาวสวีเดน​ 1 คน​แต่ตอนนี้ญาติได้เสียชีวิตที่เดนมากร์ อยากถามว่า​ สามีคนปัจจุบันจะมีสิทธิ์รับมรดกในประเทศไทยหรือไม่คะ

บัวทิพย์

บัวทิพย์

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้