ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

  ถ้าต้องการเริ่มต้นธุรกิจส่งออกต้องทำอย่างไรบ้าง? (19074 อ่าน)

26 ก.ย. 2553 02:48

สืบเนื่องจากมีผู้ปรึกษาด้านธุรกิจการส่งออก
ผมขอตอบเพื่อเป็นการแนะนำเพื่อเป็นวิทยาทานเบื้องต้นในแง่ธุรกิจส่งออกเท่าที่มีข้อมูลนะครับ
ถ้าต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจส่งออกจะต้องทำอย่างไรบ้าง ?     
ตอบ :
ขั้นตอนที่ 1 คือ การจดทะเบียนนิติบุคคล
การทำธุรกิจส่งออก หรือประกอบธุรกิจใดๆก็ตาม เพื่อความถูกต้อง น่าเชื่อถือ รวมถึงภาพลักษณ์ สถานะ หน้าที่และความรับผิดชอบ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ควรเริ่มต้นด้วยการจดทะเบียนพาณิชย์เสียก่อน  ซึ่งการจดทะเบียนมี 2 รูปแบบ คือ
การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา คือ มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา เพียงคนเดียว
การจดทะเบียนพาณิชย์เป็นนิติบุคคล ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 แบบคือ
1.บริษัทจำกัด
2.บริษัทมหาชนจำกัด
3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ที่สำคัญคือ ถ้าจะประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้า หรือส่งออก จดทะเบียนพาณิชย์ไปเลยดีกว่า เพราะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในทำการธุรกิจระหว่างประเทศ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าCall Center : 1570 หรือที่ http:// www.dbd.go.th
ขั้นตอนที่ 2 คือ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1,200,000/ปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ารายได้ไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องจด   (ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกิน 1,200,000/ปี บาท ให้ยืนคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1,200,000 บาท) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : กรมสรรพภากร โทร.02-671-3000 หรือที่ http:// www.rd.go.th

ขั้นตอนที่ 3 คือ การทำบัตรผ่าน พิธีการศุลกากร (Smart Card)
บัตรใบนี้ผู้ประกอบการทำธุรกิจการนำเข้าและส่งออกทุกท่าน จะต้องมีไว้ เพราะว่าบัตรนี้เปรียบเสมือนบัตรประชาชนในการทำธุรกิจระหว่างประเทศเลยก็ได้ เพียงแต่บัตรนี้ใช้สำหรับการนำเข้าส่งออกสินค้า บัตรนี้จะบันทึกข้อมูลพื้นฐานของท่านทั้งหมด
ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบรายละเอียดในการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ในการผ่านพิธีการศุลกากร เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : กรมศุลกากร Call Center : 1164หรือที่ http://www.customs.go.th

ขั้นตอนที่ 4 คือ วิธีการหาตลาด
Connection Marketıng คือ วิธีการทำตลาดกับคนรู้จัก คนใกล้ตัวหรือคนที่สนิทกันเป็นอย่างดี ที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพ
Intertrader Marketing คือ วิธีการทำตลาด กับนายหน้า หรือIntertrader (ที่เป็นสมาชิกของกรมส่งเสริมการส่งออก) โดยให้ Intertrader เป็นคนดำเนินการส่งออก หรือว่าทำการตลาดให้  ทางผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็นฝ่ายผลิตอย่างเดียว
Internet Marketıng หรือว่า E-Commerce คือวิธีการทำตลาดทาง Internet  โดยจะเป็นค้าขายทาง Internet  หรือ ทาง Website
Exhibition Marketing คือ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้ากับทางกรมฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เพราะทำให้เจอกับคู่ค้าโดยตรงเป็นการเจรจาการค้าโดยตรงระหว่างผู้ส่งออกกับผู้นำเข้าในต่างประเทศ
Trade Mission Marketing คือการทำตลาดเชิงรุก โดยการจัด Road Show โดยสำนักปฏิบัติการพิเศษ (STF) ได้นำผู้ประกอบการในเมืองไทย ไปเจรจาการค้ากับผู้ซื้อในต่างประเทศ 
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :  ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ ( IBCC ) , DEP Call Center : 1169 หรือที่ www.depthai.go.th/1151.page
  
ขั้นตอนที่ 5 คือ การศึกษาวิธีการชำระเงินระหว่างประเทศ
วิธีชำระเงินระหว่างประเทศ ที่นิยมใช้กันจำแนกได้ 4 รูปแบบ มีดังนี้
1. การชำระเงินด้วยเงินสด หรือ การชำระเงินล่วงหน้า (Cash or Advance Payment)
คือการที่ผู้ซื้อสินค้าชำระค่าสินค้าแก่ผู้ขายด้วยเงินสดก่อนการส่งมอบสินค้า ส่วนมากการชำระเงินค้าสินค้าจะทำกันในประเทศของผู้ขาย การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ซื้อสินค้าย่อมจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะว่าผู้ซื้อยอมให้ผู้ขายส่งสินค้าไปภายหลัง
2. ชำระโดยเปิดบัญชีขายเชื่อ (Open Account)
คือการที่ผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อสินค้าตกลงซื้อขายสินค้ากันโดยตรง โดยที่ผู้ขายสินค้าจะส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อก่อน เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้วจึงไปติดต่อกับธนาคาร เพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ตามระยะเวลาที่กำหนด   ตามแต่จะตกลงกันแล้ว ซึ่งจะเป็นการโอนโดยทางตั๋วเงินหรือดราฟท์ การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารจะเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีการโอนเงินค่าสินค้าเท่านั้น
3. การชำระเงินโดยเรียกเก็บเงินผ่านธนาคาร (Bill for Collection)
คือการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าผ่านธนาคารซึ่งธนาคารผู้เรียกเก็บจะปฏิบัติตามคำสั่งของลูกค้าอย่างเคร่งครัด ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
D/P (Document Against Payment) คือการที่ ผู้ขายส่งเอกสารการเก็บเงิน ไปยังผู้ขาย โดยผ่านธนาคารที่เป็นตัวแทนของทั้งสองฝ่าย  ก่อนจะที่ส่งมอบสินค้า
D/A (Document Against Acceptance) คือ การที่ผู้ขายส่งเอกสารการเก็บเงิน ไปยังผู้ขาย โดยผ่านธนาคารที่เป็นของตัวแทนของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำสินค้าไป แล้วจะจ่ายเงินตามที่ตกลง เช่น 60 วัน หรือ 30 วัน  ลักษณะการจ่ายเงินแบบนี้ จะเรียกอีกรูปแบบหนึ่งคือ Credit
4. การชำระเงินโดยแล็ตเตอร์ออฟเครดิต (Decumentary Letter of  credit)
คือ การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of credit นั้นหรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ที่เป็นวิธีเดียวที่พอจะมีหลักประกันได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้มอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินแล้ว
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  :ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ ( IBCC ) , DEP Call Center 1169 หรือที่ www.depthai.go.th/1151.page
ขั้นตอนที่ 6 คือ ศึกษากฎระเบียบของสินค้าและสิทธิพิเศษทางภาษี
ขั้นตอนนี้เริ่มต้นด้วย การศึกษากฎระเบียบของสินค้า ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ผู้ส่งออกต้องศึกษาก่อนว่า สินค้าที่จะทำการส่งออก อยู่ในประเภทใด ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 หมวด คือ
1.หมวดสินค้าทั่วไป (สินค้าทั่วไปไม่ต้องขออนุญาตส่งออก)
2.หมวดสินค้าควบคุม (ผู้ส่งออกต้องขออนุญาต หรือ ขอโควต้า)
3.หมวดสินค้ามาตรฐาน (จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้ามาตรฐาน 11 ชนิด )
   ถ้าสินค้าของผู้ประกอบการอยู่ในหมวด สินค้าควบคุม และสินค้ามาตรฐาน จะต้องขออนุญาต จากกรมการค้าต่างประเทศ    
เมื่อทราบแล้วว่า สินค้าที่ท่านจะส่งอยู่ในหมวดสินค้าประเภทใด ต่อมา ที่ต้องศึกษาคือ ขั้นตอนการส่งออก ซึ่งผู้ประกอบต้องศึกษาว่าขั้นตอนการส่งออกสินค้าของเรามีขั้นตอนอะไรบ้าง ซึ่งขั้นตอนการส่งออกทั้งหมด มี 171 ขั้นตอน เพราะฉะนั้นท่านต้องศึกษาว่าสินค้าของท่านอยู่ในขั้นตอนไหน  ซึ่งขั้นตอนการส่งออกสอบถามได้ที่   ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ หรือ IBCC
ศึกษาเรื่องมาตรฐาน หรือกฎระเบียบการนำเข้า จากต่างประเทศ หรือประเทศที่เราจะทำการส่งออก ว่าจะต้องขอเอกสารอะไรบ้าง เพราะกฎระเบียบในการนำเข้ามีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น จุดนี้สำคัญ ผู้ส่งออกทุกท่านต้องศึกษารายละเอียดให้ดี  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  กรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือ Thai Trade Center 53 ประเทศ 58 สำนักงานทั่วโลก
ขั้นตอนต่อมาศึกษา เรื่อง สิทธิพิเศษทางภาษี คือ ผู้ส่งออกต้องศึกษาและตรวจสอบสิทธิพิเศษทางภาษี ว่าถ้ามีการส่งสินค้าไปยังประเทศคู่ค้า จะมีสิทธิพิเศษทางภาษีอะไรบ้าง เช่น FTA , GSP, CEPT ,GSTP เป็นต้น เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะจะทำให้ทราบได้ว่าทราบสินค้าที่เราส่งออกไป มีสิทธิพิเศษอะไรบ้าง สามารถลดหย่อนภาษีได้หรือเปล่า  ซึ่งจะทำให้เราสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ดีในตลาดต่างประเทศ  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมการค้าต่างประเทศ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :  ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ  ( IBCC ) , DEP Call Center : 1169 หรือที่ www.depthai.go.th  หรือที่ กรมการค้าต่างประเทศ Call Center :1358 http://www.dft.moc.go.th/
ขั้นตอนที่ 7 คือ ศึกษาพิธีการศุลกากร
ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่ส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ หรือ ผู้ซื้อของเรา ซึ่งผู้ประกอบการรายใหม่ต้องศึกษาถึง กฎระเบียบและวิธีปฏิบัติที่กรมศุลกากรกำหนด แล้วทำความเข้าใจเอกสารที่ เกี่ยวข้องอย่างละเอียดครบถ้วนท่านก็สามารถผ่านขั้นตอนนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีปัญหา
หมายเหตุ : ผู้ประกอบการที่ยังใหม่ หรือว่าไม่มีความชำนาญ สามารถจ้างบริษัท Shipping ทำเอกสาร หรือ ทำพิธีการศุลกากรขาออกให้ได้ ขึ้นอยู่กับ ข้อตกลงระหว่าง ผู้ส่งออกกับ บริษัท Shipping สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :  กรมศุลกากร Call Center : 1164 หรือที่ www.customs.go.th

สรุปง่ายๆนะครั้บ .....
ขั้นตอนการส่งออก ทั้งหมดมี 7 ขั้นตอน คือ
1.การจดทะเบียนธุรกิจ
2.การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.การทำบัตร Smart Card
4.การหาตลาด
5.การศึกษาเรื่องการชำระเงิน
6.การศึกษากฎระเบียบของสินค้าและสิทธิพิเศษทางภาษี
7.พิธีการศุลกากร
ทั้งหมดที่กล่าวไป ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลยในการทำธุรกิจส่งออก  ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่า มีความตั้งใจและศึกษารายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมากน้อยแค่ไหน การทำธุรกิจส่งออกใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในระยะสั้น ต้องใช้เวลาและองค์ประกอบหลายๆ อย่าง แต่อย่างไรก็ตาม ความมุ่งมั่น และการศึกษาขั้นตอนการส่งออกอย่างละเอียด จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการสามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจส่งออกได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :  ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ ( IBCC ) , DEP Call Center  1169 หรือที่ www.depthai.go.th/
สรุปแล้วรายละเอียดมีเยอะและมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมากครับ ขอให้ลองศึกษาดูดีๆก่อนตัดสินใจทำและขอให้โชคดีในการทำธุรกิจครับ

110.49.31.151

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

Tookta

Tookta

ผู้เยี่ยมชม

tooka_ta2528@hotmail.com

25 พ.ย. 2554 19:02 #3

ได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากเลย ขอบคุณมากค่ะ

118.172.248.11

Tookta

Tookta

ผู้เยี่ยมชม

tooka_ta2528@hotmail.com

ืnatt

ืnatt

ผู้เยี่ยมชม

natties.law@gmail.com

8 มี.ค. 2555 15:09 #4

ขอบคุณมากค่ะ
พอดีบริษัทกำลังจะเปิดธุรกิจใหม่
ซึ่งตัวเองเป้นพนักงานส่งออกเลยจำเป้นต้องทราบรายละเอียดค่ะ
ขอให้คนเข้ามาอ่านเยอะๆนะคะ
เป็นประโยชน์มากค่ะ

118.173.235.112

ืnatt

ืnatt

ผู้เยี่ยมชม

natties.law@gmail.com

jane

jane

ผู้เยี่ยมชม

saeau@hotmail.com

19 มี.ค. 2555 18:08 #5

ขอบคุณมากเลยค่ะ เข้าใจขึ้นมากค่ะ

203.130.144.108

jane

jane

ผู้เยี่ยมชม

saeau@hotmail.com

แก้วตา

แก้วตา

ผู้เยี่ยมชม

rujaya.maple@gmail.com

16 เม.ย 2555 09:35 #6

ขอบคุณมากค่ะ แก้วกำลังจะเปิดธุรกิจขอบตัวเอง เข้าใจขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ

182.53.53.91

แก้วตา

แก้วตา

ผู้เยี่ยมชม

rujaya.maple@gmail.com

Pin

Pin

ผู้เยี่ยมชม

jurapins@gmail.com

3 ต.ค. 2557 22:59 #7

ขอบคุณมากๆค่ะ ช่วยครอบคลุมได้หมดเลย
ไม่ต้องศึกษาเองสเปะสปะ

223.204.179.136

Pin

Pin

ผู้เยี่ยมชม

jurapins@gmail.com

far

far

ผู้เยี่ยมชม

warina_na@hotmail.com

10 ต.ค. 2557 17:30 #8

แล้วถ้าเราเพิ่งจะส่งออกได้ 2 ครั้ง แต่ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจ จะเป็นอะไรไหมคะ หมายถึงผิดกฎหมายหรือเปล่าคะ

124.121.224.212

far

far

ผู้เยี่ยมชม

warina_na@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

12 ต.ค. 2557 13:55 #9

ตอบคำถามคุณ Far
             การส่งออกสินค้าว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ต้องดูประเภทของสินค้าว่ารัฐกำหนดให้ต้องได้รับอนุญาตก่อนหรือไม่ ส่วนการไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจนั้น คงไม่ผิดกฎหมายอย่างใดเพราะบุคคลธรรมดาก็สามารถประกอบกิจการนี้ได้ หากมีความพร้อม และเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายครับ

27.130.236.46

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@gmail.com

ภัทร

ภัทร

ผู้เยี่ยมชม

konkeeai_pop@hotmail.com

16 ก.ค. 2559 19:25 #10

ขอบคุณที่สละเวลามาเขียนสิ่งที่มีประโยชน์ให้เราได้อ่านนะคะ

180.183.104.87

ภัทร

ภัทร

ผู้เยี่ยมชม

konkeeai_pop@hotmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้