การตอบคำถามทางเว็บไซท์ http://www.phuwarinlawyer.com/ เป็นเพียงความคิดเห็นเบื้องต้นทางกฎหมายซึ่งได้วินิจฉัยและตอบคำถามจากข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่ปรากฏเท่านั้น โดยอาจมีรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ถามมิได้แจ้งข้อมูลมาอย่างครบถ้วนที่จะประกอบการวินิจฉัยอย่างเพียงพอ ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจ ************************************************************** ติดต่อปรึกษาทางโทรศัพท์ 081-9250-144 หรือ Line ID 081-9250-144 **กรณีหากไม่รับสายแสดงว่าติดภารกิจศาลหรือติดงาน กรุณาโทรติดต่อใหม่อีกครั้ง**
สืบเนื่องจากมีคนเคยถามผมเกี่ยวกับการครอบครองปืน ผมจึงขอเผยแพร่เป็นความรู้และเป็นวิทยาทานในที่นี้ครับ กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับปืน การโอนลอยอาวุธปืนหมายถึง
การโอนลอยอาวุธปืน หมายถึง การซื้อขายอาวุธปืนโดยผู้ซื้อชำระเงินให้แก่ผู้ขาย และผู้ขายส่งมอบอาวุธปืน พร้อมใบ ป.4 ซึ่งผู้ขายได้ลงลายมือชื่อของผู้ขายเอาไว้ด้านหลัง และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนของผู้ขายเช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปดำเนินการโอนทางทะเบียนต่อนายทะเบียนอาวุธปืนเอาเอง โดยผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้ไปดำเนินการโอนต่อหน้านายทะเบียนในขณะที่มีการซื้อขาย
การซื้อขายอาวุธปืนโดยการโอนลอย หากผู้ซื้อมีใบอนุญาตให้ซื้อหรือรับโอนอาวุธปืน ( ใบ ป. 3 ) ในขณะที่มีการซื้อขายโดยการโอนลอย ก็ไม่มีปัญหา
แต่อาจเกิดปัญหาได้ หากการซื้อขายอาวุธปืนโดยการโอนลอยให้แก่ผู้ซื้อซึ่งในขณะทำการซื้อขายผู้ซื้อยังไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ซื้อหรือรับโอนอาวุธปืน คือไม่มีใบ ป. 3 ( ถึงแม้ผู้ซื้อจะไปดำเนินการขอใบ ป. 3 ในภายหลังก็ตาม ) และมีผู้มาพบการกระทำความผิด ผู้ขายก็จะมีความผิดฐานโอนหรือขายอาวุธปืนให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 59 ส่วนผู้ซื้อก็จะมีความผิดฐานซื้อ หรือมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7
บางครั้งการโอนลอยก็มีประโยชน์ในเรื่องของความสะดวก ซึ่งก็เป็นที่นิยมใช้วิธีนี้กัน แต่บางครั้งก็อาจสร้างปัญหาตามมา หากไม่รอบคอบและไปกระทำผิดกฎหมายได้ครับ .......................................................................................................... สถานที่ติดต่อและยื่นคำร้อง เกี่ยวกับอาวุธปืน
กรุงเทพมหานคร สถานที่ติดต่อและยื่นคำร้อง คือ ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง วังไชยา นางเลิ้ง ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร. 02–281 – 1224 , 02 – 282 – 0775 ,02 – 356 – 9584 , 02 – 356 – 9585 ต่างจังหวัด สถานที่ติดต่อและยื่นคำร้อง คือ ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอของแต่ละจังหวัดที่ผู้ขอมีภูมิลำเนา คุณสมบัติผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน 1. บรรลุนิติภาวะ 2. สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ 3. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 4. มีชื่อในทะเบียนและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน 5. ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา .................................................................................... เอกสารประกอบคำขออนุญาตการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุน v ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานองค์กรของรัฐ · บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · ทะเบียนบ้าน ( ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลจำเป็นที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน - ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็น ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป - ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมใช้อาวุธปืน v ข้าราชการทหาร หรือตำรวจ · บัตรประจำตัวข้าราชการ (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · ทะเบียน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน - ผู้ออกหนังสือต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดที่มียศตั้งแต่พันเอก หรือพันตำรวจเอกขึ้นไป - ผู้มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน v ประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบอาชีพอื่น · บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · หลักฐานประกอบอาชีพ อาทิ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้าน หากเป็นลูกจ้างหรือรับจ้าง ต้องมีหนังสือรับรองตำแหน่งหน้าที่เงินเดือนจากผู้มีอำนาจจัดการของกิจการนั้น หรือเจ้าของแล้วแต่กรณี หากมิได้มีอาชีพรับจ้าง ต้องมีเอกสารประกอบที่อ้างอิง อาทิเช่น ทำสวน ทำไร่ ติดต่อค้าขายที่ หรือค้าขายย่อย หรือเร่ขาย โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องนำหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน เงินฝากธนาคาร ( statement ) หรือหลักฐานอื่น เพื่อประกอบการพิจารณา · หนังสือรับรองความประพฤติและเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาตจากข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป หรือ ตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป · พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติ และสืบสวนความประพฤติ · หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐาน การเป็นสมาชิกสนามยิงปืนแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมใช้อาวุธปืน v การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล · หลักฐานเอกสารเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครืองกระสุนจากร้านค้า · สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) ของอาวุธที่จะโอน · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน · หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา · ภายหลังที่ได้รับอนุญาตผู้โอน (เจ้าของเดิม) กับผู้ขอรับโอน ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลัง ใบอนุญาต (ป.4 ) ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใครมีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทนเนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เป็นหลักฐานพร้อมผู้รับโอนลงนามไว้ด้วย v การขอรับโอนอาวุธปืนมรดก (เจ้าของปืนตาย) · ผู้ที่มีอาวุธหรือใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) อยู่ในครอบครองต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตายพร้อมนำใบอนุญาต (ป.4) · ใบมรณบัตร พร้อมสำเนา · สำเนาคำสั่งศาลกรณีศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก - ถ้าไม่มีผู้จัดการ ต้องสอบทายาททั้งหมดว่าว่ายินยอมสละปืนแล้วเสนอนายทะเบียนฯ · ผู้ขอรับโอนปืนมรดกนำหลักฐานเอกสารประกอบคำร้อง เช่นเดียวกับการขอรับโอนอาวุธปืนจากบุคคลมายื่นต่อนายทะเบียนท้องที่พร้อมเอกสารข้างต้น · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน · นำอาวุธที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง v การแจ้งการย้ายอาวุธปืน · ต้องยื่นคำร้องขอย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนท้องที่เดิมและนายทะเบียนท้องที่ซึ่งย้ายไปอยู่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออกไปและวันที่ไปถึง · ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · บัตรประจำตัว (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ · ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม v การออกใบแทนหรือคัดสำเนาใบอนุญาตอาวุธปืน · ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · บัตรประจำตัว (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · กรณีสูญหาย แจ้งความต่อสถานีตำรวจท้องที่ ที่ใบอนุญาตหาย แล้วนำใบแจ้งความพร้อมคัดสำเนาประจำวันด้วย · นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ v ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานองค์กรของรัฐ · บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · ทะเบียนบ้าน ( ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลจำเป็นที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน - ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็น ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป - ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมใช้อาวุธปืน v ข้าราชการทหาร หรือตำรวจ · บัตรประจำตัวข้าราชการ (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · ทะเบียน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน - ผู้ออกหนังสือต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดที่มียศตั้งแต่พันเอก หรือพันตำรวจเอกขึ้นไป - ผู้มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน v ประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบอาชีพอื่น · บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา) · หลักฐานประกอบอาชีพ อาทิ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้าน หากเป็นลูกจ้างหรือรับจ้าง ต้องมีหนังสือรับรองตำแหน่งหน้าที่เงินเดือนจากผู้มีอำนาจจัดการของกิจการนั้น หรือเจ้าของแล้วแต่กรณี หากมิได้มีอาชีพรับจ้าง ต้องมีเอกสารประกอบที่อ้างอิง อาทิเช่น ทำสวน ทำไร่ ติดต่อค้าขายที่ หรือค้าขายย่อย หรือเร่ขาย โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องนำหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน เงินฝากธนาคาร ( statement ) หรือหลักฐานอื่น เพื่อประกอบการพิจารณา · หนังสือรับรองความประพฤติและเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาตจากข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป หรือ ตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป · พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติ และสืบสวนความประพฤติ · หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐาน การเป็นสมาชิกสนามยิงปืนแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมใช้อาวุธปืน v การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล · หลักฐานเอกสารเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครืองกระสุนจากร้านค้า · สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) ของอาวุธที่จะโอน · หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน · หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา · ภายหลังที่ได้รับอนุญาตผู้โอน (เจ้าของเดิม) กับผู้ขอรับโอน ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลัง ใบอนุญาต (ป.4 ) ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใครมีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทนเนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เป็นหลักฐานพร้อมผู้รับโอนลงนามไว้ด้วย
*************************************************************
เครดิตจาก บทความคุณวิทยา สุขสมโสตร http://www.gunstactics.com/readarticle.php?article_id=15
การจำนำ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ และผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วน และหากลูกหนี้หรือผู้จำนำไม่ชำระหนี้ ก็ต้องบังคับจำนำ โดยผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็น หนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลา อันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด อาวุธปืนเป็นทรัพย์ที่ทะเบียนที่กฎหมายควบคุมเป็นพิเศษ ผมตอบสรุปให้เลยว่าไม่สามารถจำนำได้ เพราะผู้รับจำนำจะมีความผิดตามกฎหมายอาวุธปืน แม้อาวุธปืนนั้นจะได้รับอนุญาตตามกฎหมายก็ตาม เนื่องจากอาวุธปืนนั้นนายทะเบียนอนุญาตให้มีเฉพาะรายบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น หากรับจำนำไว้ก็ถือว่าผู้รับจำนำมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนมีความผิดตาม พรบ.อาวุธปืนฯ ดูตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7803/2543 ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" การที่นาย ส. จำนำอาวุธปืนไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 รับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคสาม