ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ
   ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
   ศาลยุติธรรม
   ศาลแพ่ง
   ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
   ศาลอาญา
   ศาลอาญากรุงเทพใต้
   ศาลอาญาธนบุรี
   ศาลแพ่งธนบุรี
   ศาลจังหวัดตลิ่งชัน
   ศาลจังหวัดมีนบุรี
   ศาลแขวงพระนครเหนือ
   ศาลแขวงพระนครใต้
   ศาลแขวงปทุมวัน
   ศาลแขวงดุสิต
   ศาลแขวงธนบุรี
   ค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา
   ค้นหากฎหมายไทย
   อัตราค่าส่งหมายทั่วประเทศ
   ดาวน์โหลดแบบฟอร์มศาลยุติธรรม
   เนติบัณฑิตยสภา
   สภาทนายความ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 1.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.2
   ห้องสมุดกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 3
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 103
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,479,041
 เปิดเว็บ 02/06/2553
 ปรับปรุงเว็บ 17/02/2565
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
3 มิถุนายน 2566
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
    
10 
11  12  13  14  15  16  17 
18  19  20  21  22  23  24 
25  26  27  28  29  30   
             
 Webboard

การตอบคำถามทางเว็บไซท์ http://www.phuwarinlawyer.com/ 
เป็นเพียงความคิดเห็นเบื้องต้นทางกฎหมายซึ่งได้วินิจฉัยและตอบคำถามจากข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่ปรากฏเท่านั้น
โดยอาจมีรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ถามมิได้แจ้งข้อมูลมาอย่างครบถ้วนที่จะประกอบการวินิจฉัยอย่างเพียงพอ
ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจ
**************************************************************

ติดต่อปรึกษาทางโทรศัพท์  081-9250-144 หรือ Line ID 081-9250-144
**กรณีหากไม่รับสายแสดงว่าติดภารกิจศาลหรือติดงาน กรุณาโทรติดต่อใหม่อีกครั้ง**

lawyer.makewebeasy.com > ปรึกษาปัญหากฎหมายทั่วไป > ระวัง ! เช็คเด้ง แล้วฟ้องให้ผู้ออกเช็ครับผิดชำระเงินตามเช็คไม่ได้
  ผู้เขียน
 หัวข้อ : ระวัง ! เช็คเด้ง แล้วฟ้องให้ผู้ออกเช็ครับผิดชำระเงินตามเช็คไม่ได้ (อ่าน 15887) 
5
 
ทนายภูวรินทร์
Admin
phuwarinlawyer@hotmail.com
เมื่อ 30 กรกฎาคม 2555 15:15 น.


             เช็ค คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้รับเงิน” หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อมีการนำเช็คไปเรียกเก็บโดยชอบแล้ว ผู้สั่งจ่ายก็สัญญาว่าตนจะใช้เงินจำนวนตามเช็คนั้นให้ด้วย

            หนังสือตราสารที่จะเป็นเช็คตามกฎหมายจะต้องมีรายการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ

            (1) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค

            (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

            (3) ชื่อ หรือยี่ห้อ และสำนักของธนาคาร

            (4) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

            (5) สถานที่ใช้เงิน

            (6) วันและสถานที่ออกเช็ค

            (7) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย



            เช็คจึงเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงซึ่งมีเช็คไว้ในครอบครองโดยเป็นผู้รับเงินตามเช็คว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค จึงถือว่า เช็คเป็นตราสารที่มีความน่าเชื่อถือและมีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจที่ใช้เช็คชำระหนี้แทนเงินสดเป็นอย่างมาก หากเช็คมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วก็คงไม่มีปัญหาให้ผู้รับเงินตามเช็คปวดหัวและเจ็บใจอย่างใด เพราะอาจมีเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลังไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คก็ได้

            ดังนั้น ผมจึงได้นำตัวอย่างเช็คที่ผู้สั่งจ่ายไม่ต้องรับผิดตามเช็คมาแสดงชี้แจงให้ผู้อ่านที่มีความเกี่ยวข้องกับเช็คในการประกอบกิจการได้ศึกษาและเป็นอุทาหรณ์เพื่อจะได้ระมัดระวังในการรับเช็คจากบุคคลอื่นที่รู้หน้าแต่ไม่รู้ใจให้ดียิ่งขึ้น เรื่องมีอยู่ว่า นายเลวสั่งจ่ายเช็คจำนวน 500,000 บาท ส่งมอบเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าให้แก่นายดี โดยเช็คฉบับดังกล่าวนายเลวซึ่งรู้กฎหมายเรื่องเช็คเป็นอย่างดีได้ขีดฆ่าคำว่า
“หรือผู้ถือ” ออกและเขียนคำว่า “สด” ลงไปในช่องว่างหลังคำว่า “จ่าย” ต่อมานายดีได้นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค นายดีทวงถามนายเลวให้รับผิดชำระเงินตามเช็คนั้น ปรากฏว่านายเลวต่อสู้ว่าเช็คดังกล่าวมีรายการขาดตกบกพร่องในขณะออกเช็ค ไม่สมบูรณ์เป็นเช็ค ตนเองจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คนั้น นายดีจึงฟ้องให้นายเลวรับผิดชำระเงินตามเช็คต่อศาล ผลการดำเนินคดีเป็นที่สุดแล้ว ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาที่ 6305/2548 พิพากษายกฟ้องตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์โดยวินิจฉัยสรุปว่า “เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายมีการขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก แล้วเขียนคำว่า "สด" ลงไปในช่องว่างหลังคำว่า "จ่าย" ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่มีชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 (4) บัญญัติไว้ และการขีดฆ่าดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 ซึ่งเป็นเรื่องการเขียนข้อความที่มิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะตั๋วเงิน ข้อความที่เขียนลงไปจึงไม่มีผลแก่ตั๋วเงิน การที่เช็คพิพาทขาดรายการซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมี ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตามมาตรา 987 และมาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แม้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังก็ไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น”

            ท่านผู้อ่านเห็นใช่ไหมครับว่า ผู้ที่มีความรู้แต่ใช้ไปในทางเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วยเจตนาทุจริตนั้นมีอยู่ในสังคมเป็นอันมาก ดังนั้น ผู้รับเช็คจึงต้องระมัดระวังและรู้เท่าทันอยู่เสมอ หากเป็นเช็คที่มีลักษณะตามตัวอย่างข้างต้น ก็ไม่ควรรับไว้และแจ้งให้ผู้ออกเช็คจัดทำเช็คที่มีรายการครบถ้วนตามกฎหมายให้ใหม่ทันที ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของบุคคลผู้ไม่หวังดี ดังนั้น ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านคงจะได้รับทราบความรู้เรื่องเช็คเพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อกิจการ หรือต่อบุคคลที่ต้องการความรู้ทางด้านเช็คนะครับ แล้วพบกันในโอกาสต่อไป สวัสดีครับ




 


เนตรนภา
Guest
ตอบ # 1 เมื่อ 1 สิงหาคม 2555 09:35 น. [แจ้งลบ]
ขอบคุณมากค่ะ
ปริญญ์
Guest
ตอบ # 2 เมื่อ 27 สิงหาคม 2555 21:38 น. [แจ้งลบ]
ขอบคุณมากครับ
แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2555 21:44 น.
เนเน้
Guest
ตอบ # 3 เมื่อ 8 กันยายน 2556 12:57 น. [แจ้งลบ]
ขอบคุณมากค่ะ แปลว่าเวลารับเช็คต้องมีครบใน 7 ข้อข้างบนที่แจ้งใช่ไหมคะ
แล้วถ้ากรณีเจอเช็คที่ขีดค่าตัวเลขแล้วเซ็นกำกับจะได้เงินครบไหมคะหรือไม่ได้คะ ตอบทางอีเมลล์ส่วนตัวก็ได้นะคะ
ขอบคุณคุณทนายภูวรินทร์มากค่ะ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 4 เมื่อ 8 กันยายน 2556 23:41 น. [แจ้งลบ]
ตอบคำถามคุณเนเน้


           ถูกต้องครับเช็คจะต้องมีรายการครบถ้วนทั้งเจ็ดข้อดังกล่าวข้างต้น ส่วนกรณีที่มีการขีดฆ่าตัวเลขแล้วลงลายมือชื่อกำกับก็ต้องให้เขียนจำนวนเงินที่ถูกต้องใหม่ลงไปแทนด้วย แต่จะได้เงินตามเช็คหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะขึ้นอยู่กับว่าบัญชีตามเช็คมีเงินอยู่พอที่จะจ่ายเงินตามเช็คหรือไม่


เนเน้
Guest
ตอบ # 5 เมื่อ 9 กันยายน 2556 00:14 น. [แจ้งลบ]
ขอบคุณมากค่ะคุณทนายภูวรินทร์ :r:
Krit
Guest
ตอบ # 6 เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557 23:55 น. [แจ้งลบ]
เรียนถามทนายภูวรินทร์หน่อยครับ ลูกค้าจ่ายค่าสินค้าด้วยเช็คเมื่อวันที่ 25พย.2556 เช็คเด้งผมจะทำอย่างไรจึงจะได้เงินคืนบ้างครับ ขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ รบกวนคุณทนายภูวรินทร์ช่วยตอบทางอีเมลล์ส่วนตัวครับผมอาจจะโทรหาคุณทนายภูวรินทร์เพื่อปรึกษาครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 7 เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2557 17:05 น. [แจ้งลบ]


ทนายภูวรินทร์ได้ตอบคำถามคุณ Krit ทางอีเมลล์แล้ว


ธีรสิทธิ
Guest
po.191@hotmail.com
ตอบ # 8 เมื่อ 12 กันยายน 2557 10:17 น. [แจ้งลบ]
นาย ก. จ่ายเช็คชำระค่าสินค้า กับ นาย ข. นาย ข. นำเช็คของนาย ก. ไปชำระค่าสินค้ากับนาย ค. โดยนาย ข.สลักหลัง เช็คเด้ง ใครรับผิดชอบ แจ้งคดีอาญากับใครครับ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 9 เมื่อ 4 ตุลาคม 2557 15:43 น. [แจ้งลบ]
~~ตอบคำถามคุณธีรสิทธิ

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2550  "ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" มิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำ ความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัว การร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 ได้ ดังนั้น ผู้สลักหลังเช็คจึงอาจเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คได้ พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาท โดยจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ออกเช็คพิพาทและจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกันออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุมีคำสั่งให้ระงับการจ่าย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง"

         คดีตามคำพิพากษาดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้สลักหลังเช็คทำการสลักหลังต่อหน้าผู้ออกเช็ค ศาลวินิจฉัยว่าเป็นตัวการร่วมกระทำผิดได้เพราะอยู่พร้อมกันในขณะส่งมอบเช็คแก่ผู้เสียหาย แต่กรณีตามคำถามหากผู้สลักหลังไม่ได้ร่วมอยู่ด้วย ก็คงไม่ผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันออกเช็คครับ เรื่องนี้น่าจะดำเนินคดีอาญากับผู้ออกเช็คเท่านั้น
แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2558 11:17 น.
Mr.ling
Guest
mr.ling_2007@hotmail.com
ตอบ # 10 เมื่อ 9 ธันวาคม 2557 05:15 น. [แจ้งลบ]
กรณีตัวอย่างนะครับ นายเลวไม่มีเงินจ่ายหรือธ.ไม่สามารถจ่ายได้แม้มีเงินก็ตามครับ:k:
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 11 เมื่อ 20 กันยายน 2558 14:29 น. [แจ้งลบ]
ชญานน อนุจารีวัฒน์
Guest
ตอบ # 12 เมื่อ 21 สิงหาคม 2559 19:18 น. [แจ้งลบ]
พี่สาวทำงานร้านยางตำแหน่งบัญชี วันนึงนายจ้างไปบวช แล้วให้พี่สาวทำหน้าที่ซื้อขายยาง โดยการจ่ายเปนเชคเพื่อซื้อยางเข้าร้าน โดยนายจ้างบอกจะโอนเงินเข้าบัญชีเพื่อเปนค่ายาง แต่ไม่ได้โอนให้ บริษัทยางเอาเชคไปขึ้นเงินไม่ได้เชคเด้ง จึงไปแจ้งความจะดำเนินคดีกับพี่สาวครับ ตอนนี้พี่สาวออกจากร้านยางนั้นแล้ว เจ้าร้านยางก็ไม่ยอมไปจ่ายค่ายางบริษัทยาง ควรทำอย่างไรดีครับ. เพราะเงินค่ายางประมานหกแสนกว่าบาท
ขอความกรุณาด้วยครับ ขอบคุณครับ
ขนิษฐา
Guest
khanitta.pui@gmail.com
ตอบ # 13 เมื่อ 16 มกราคม 2560 13:48 น. [แจ้งลบ]
รบกวนสอบถามค่ะ
ในกรณีเช็คตีกลับหรือเช็คเด้ง ก่อนดำเนินคดีเราจำเป็นต้องทำหนังสือทวงถามไปก่อนมั้ยคะ แล้วในหนังสือทวงถามนั้นเราสามารถคิดดอกเบี้ยจากยอดเช็คได้หรือไม่คะ อยากทราบแนวทางในการร่างหนังสือทวงถามค่ะ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 14 เมื่อ 16 มกราคม 2560 16:46 น. [แจ้งลบ]
ตอบคำถามคุณขนิษฐา

         เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ผู้ทรงเช็ค มีสิทธิดำเนินคดีอายาภายใน 3 เดือน นับแต่วันเช็คขึ้นเงินไม่ได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวหรือทวงถามก่อน ก็สามารถแจ้งความหรือฟ้องคดีเองได้

        เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ตามกฎหมายให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ได้ หนังสือทวงถามจึงแจ้งยอดดอกเบี้ยไปได้

       แต่หากฟ้องคดีอาญา เป็นเรื่องขอให้ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก หากมีการไกล่เกลี่ยก็แจ้งยอดให้ชำระดอกเบี้ยด้วยได้  ส่วนคดีแพ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้

      แนวทางร่างหนังสือ ก็ต้องทำหนังสือเป็นสามวรรคแบบคร่าวๆ

    1.ท้าวถึงความเป็นมาแห่งหนี้ เมื่อไหร่ ยอดเท่าไหร่ ถึงกำหนดเมื่อใด และจ่ายเป็นเช็คมา

   2.ใส่รายละเอียดการผิดนัดชำระหนี้ คือเช็คเด้ง ทวงถามแล้วไม่จ่าย

   3. ขอให้จัดการชำระหนี้ภายในกี่วัน หากไม่ชำระจะทำอะไร 


 
วชิระ
Guest
ตอบ # 15 เมื่อ 29 พฤษภาคม 2560 15:57 น. [แจ้งลบ]
เช็คเด้งแล้ว แต่ลูกหนี้บอกว่าจะหาเงินมาเข้าบัญชีให้อีก 15 วัน หลัง 15 วันแล้วให้เอาไปเช็คฉบับเดิมไปขึ่นเงินกับธนาคาร ผมรบกวนถามว่าแบบนี้ทำได้ไหมครับ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 16 เมื่อ 9 กรกฎาคม 2560 22:51 น. [แจ้งลบ]
ตอบคำถามคุณวชิระ 

        เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรกแล้ว อายุความคดีอาญาย่อมเดินไป หากเกินสามเดือน คดีก็ขาดอายุความ ส่วนคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คมีอายุความ 1 ปี กฎหมายให้เริ่มนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน

       ส่วนกรณีที่ผู้สั่งจ่ายให้เอาเช็คไปขึ้นเงินอีกนั้น ผมแนะนำให้เอาเช็คฉบับแรกไปเปลี่ยนเป็นฉบับใหม่จะดีที่สุดครับ เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารอาจไม่ยอมเอาไปเรียกเก็บอีกครั้ง เนื่องจากอาจถูกเจ้าของบัญชีฟ้องร้องได้ เพราะเมื่อเช็คถูกธนาคารปฏิเสธไปแล้ว สิทธิหน้าที่ตามเช็คในการดำเนินการทางกฎหมายย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันนั้น 
น้ำ
Guest
wanvisakraichoei@gmail.com
ตอบ # 17 เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2561 21:26 น. [แจ้งลบ]
เล่นเชร์แล้วท้าวแชร์ให้ลูกแชร์เอาสมุดเช็คแบบยกเล่ม เซ็นชื่อในเช็คทุกฉบับเพิ่อให้ท้าวแชร์ถือไว้เพื่อเป็นการคำ้ประกันวงแชร์ที่เล่น เมื่อไม่ได้เล่นแชร์แล้วเจ้าของบัญชีได้ไปปิดบัญชีลงเพราะไม่มีความจำเป็นในการเปิดไว้ แต่ต่อมาทางสามีของท้าวแชร์ได้เขียนยอดงเินเช็คของเรา แล้วน้ำไปขึ้นเงิน จากนั้นก็ฟ้องคดีอาญา ความผิดเรื่องการใช้เช็คเรามา แบบนี้เราควรทำอย่างไรคะ



Reply ตอบกลับกระทู้

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

    แนบไฟล์ :
(ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2 MB.)
    ผู้เขียน : *
    E-mail : *
 ไม่ต้องการแสดง E-mail
    รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป
Copyright by www.phuwarinlawyer.com
Engine by MAKEWEBEASY