การตอบคำถามทางเว็บไซท์ http://www.phuwarinlawyer.com/ เป็นเพียงความคิดเห็นเบื้องต้นทางกฎหมายซึ่งได้วินิจฉัยและตอบคำถามจากข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่ปรากฏเท่านั้น โดยอาจมีรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ถามมิได้แจ้งข้อมูลมาอย่างครบถ้วนที่จะประกอบการวินิจฉัยอย่างเพียงพอ ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจ ************************************************************** ติดต่อปรึกษาทางโทรศัพท์ 081-9250-144 หรือ Line ID 081-9250-144 **กรณีหากไม่รับสายแสดงว่าติดภารกิจศาลหรือติดงาน กรุณาโทรติดต่อใหม่อีกครั้ง**
ทนายความฟรี.....มีที่ไหน (บ้าง) ขึ้นหัวไว้อย่างนี้ก็เพื่อที่จะบอกกับทุกคนว่า หากคุณเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ไม่ค่อยจะมีกะตังค์ไปปรึกษาทนายหรือ ไปจ้างทนายมาว่าความให้คุณ คุณก็สามารถขอรับการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายได้ฟรี โดยหากคุณต้องการเพียงขอคำปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับคดีความที่คุณถูกฟ้อง หรือเป็นเรื่องที่คุณต้องการใช้สิทธิทางศาล แต่ไม่รู้จะดำเนินการอย่างไร คุณสามารถไปขอคำปรึกษาได้ที่ ที่ทำการศาลทุกศาล ซึ่งจะมีโต๊ะสำหรับทนายความอาสาประจำอยู่ทุกศาลคอยให้คำปรึกษาชี้แนะกับประชาชนทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น **แต่ทนายความอาสาเหล่านี้จะให้แค่คำปรึกษากับคุณได้เท่านั้น ไม่สามารถว่าความให้กับคุณได้ เพราะเป็นข้อห้าม * ส่วนหากคุณต้องการทนายความว่าความให้กับคุณ คุณอาจจะต้องไปที่ ที่ทำการสภาทนายความ ตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อขอรับการช่วยเหลือที่นั่น แต่การขอรับการช่วยเหลือในกรณีนี้ จะมีเงื่อนไขอยู่ 2 ประการคือ 1. คุณต้องเป็นผู้ที่ยากจน และ 2. ไม่ได้รับความเป็นธรรม *ซึ่งต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 ประการ จึงจะสามารถขอรับการช่วยเหลือได้ อีกกรณีหนึ่งคือ กรณีที่คุณตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หากคุณไม่มีทนายความว่าความให้ คุณสามารถร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งทนายความให้ได้ ซึ่งศาลจะมีทนายขอแรงไว้ช่วยเหลือว่าความให้คุณ ที่นี้รู้หรือยังครับว่า ทนายความฟรี.......มีที่ไหน (บ้าง)
แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ หากคุณต้องการคำที่ปรึกษาเบื้องต้นหรือต้องการคำแนะนำในเรื่องคดีความปรึกษาทางผมก่อนได้นะครับ โดยเบื้องต้นทางผมและทีมงานทนายฯจะไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเป็นที่ปรึกษาใด (เฉพาะคำปรึกษาเบื้องต้นเท่านั้นนะครับ)...........หรือจะ E-mail มาปรึกษาที่ผมก่อนก็ได้ครับ....... *************************************************** ตัวบทกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ ให้ศาลจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งตามมาตรานี้ โดยคำนึงถึงสภาพแห่งคดีและสภาวะทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง" คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2549 "โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี"
ตอบคำถามคุณปูครับ ตามกฏหมายบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้ (1) มารดาหรือบิดาตาย (2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย (3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ (4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน (5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา (6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
การที่เจ้าหนี้จะอายัดสิทธิเรียกร้องหรือเงินเดือนของลูกหนี้ได้นั้น จะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วเท่านั้น หากยังมิได้ฟ้องเป็นคดีต่อศาลก็ไม่มีสิทธิอายัดได้ครับ ส่วนเมื่อศาลพิพากษาแล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ที่มีเงินเดือน 10,000 บาทขึ้นไป ในอัตรา 30 % เท่านั้น หากเงินเดือนไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาทก็อายัดไม่ได้ครับ เพราะกฎหมายกำหนดให้เหลือเงินให้ลูกหนี้ไว้ในจ่ายจำนวน 10,000 บาท ต่อเดือน แต่เงินโบนัสอายัดได้ 50 % ส่วนเงินตอบแทนการออกจากงานอายัดได้ 100 % ครับ