ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ
   ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
   ศาลยุติธรรม
   ศาลแพ่ง
   ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
   ศาลอาญา
   ศาลอาญากรุงเทพใต้
   ศาลอาญาธนบุรี
   ศาลแพ่งธนบุรี
   ศาลจังหวัดตลิ่งชัน
   ศาลจังหวัดมีนบุรี
   ศาลแขวงพระนครเหนือ
   ศาลแขวงพระนครใต้
   ศาลแขวงปทุมวัน
   ศาลแขวงดุสิต
   ศาลแขวงธนบุรี
   ค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา
   ค้นหากฎหมายไทย
   อัตราค่าส่งหมายทั่วประเทศ
   ดาวน์โหลดแบบฟอร์มศาลยุติธรรม
   เนติบัณฑิตยสภา
   สภาทนายความ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 1.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.2
   ห้องสมุดกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 7
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 943
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,566,085
 เปิดเว็บ 02/06/2553
 ปรับปรุงเว็บ 17/02/2565
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
4 ตุลาคม 2566
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30  31         
             
 Webboard

การตอบคำถามทางเว็บไซท์ http://www.phuwarinlawyer.com/ 
เป็นเพียงความคิดเห็นเบื้องต้นทางกฎหมายซึ่งได้วินิจฉัยและตอบคำถามจากข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่ปรากฏเท่านั้น
โดยอาจมีรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ถามมิได้แจ้งข้อมูลมาอย่างครบถ้วนที่จะประกอบการวินิจฉัยอย่างเพียงพอ
ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจ
**************************************************************

ติดต่อปรึกษาทางโทรศัพท์  081-9250-144 หรือ Line ID 081-9250-144
**กรณีหากไม่รับสายแสดงว่าติดภารกิจศาลหรือติดงาน กรุณาโทรติดต่อใหม่อีกครั้ง**

lawyer.makewebeasy.com > ปรึกษาปัญหากฎหมายทั่วไป > คู่สมรสคนต่างชาติ หรือลูกที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย มีสิทธิรับมรดกที่ดินในประเทศไทยได้หรือไม่
  ผู้เขียน
 หัวข้อ : คู่สมรสคนต่างชาติ หรือลูกที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย มีสิทธิรับมรดกที่ดินในประเทศไทยได้หรือไม่ (อ่าน 16216) 
393
 
ทนายภูวรินทร์
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
เมื่อ 18 เมษายน 2556 19:25 น.


            สามีหรือภรรยาคนไทยจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติมีลูกด้วยกันโดยลูกไม่ถือสัญชาติไทย แต่ถือสัญชาติตามพ่อ  ลูกจะสามารถรับมรดกประเภทที่ดินได้หรือไม่  และจะทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่สามีหรือภรรยาคนต่างชาติได้หรือไม่ พินัยกรรมจะตกเป็นโมฆะหรือไม่

            คำถามเหล่านี้มีคำตอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 บัญญัติว่า “ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่ง
มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ

                                 (1) ผู้สืบสันดาน

                                 (2) บิดามารดา

                                 (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

                                 (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

                                 (5) ปู่ ย่า ตา ยาย

                                 (6) ลุง ป้า น้า อา

                                 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง
มาตรา 1635” และ

            มาตรา 1635 บัญญัติว่า “ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้

                                 (1) ถ้ามีทายาทตาม
มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

                                 (2) ถ้ามีทายาทตาม
มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

                                 (3) ถ้ามีทายาทตาม
มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม

(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน
มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด”

            ดังนั้น หากเป็นกรณีภรรยาคนไทยสมรสกับชายชาวต่างชาติ และมีลูกด้วยกันโดยลูกไม่ได้ถือสัญชาติไทย  หากปรากฏว่า มารดาเสียชีวิต และไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดไปยังทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นการรับมรดกโดยผลของกฎหมายเสมอ  ดังนั้น เมื่อลูกเป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ก็มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม และเมื่อมีทายาทชั้นผู้สืบสันดานแล้ว ทายาทอันดับที่ 3 – 6 ก็จะถูกตัดไม่ให้รับมรดกโดยปริยาย แต่บิดามารดาของเจ้ามรดกหากมีชีวิตอยู่ก็ยังมีสิทธิรับมรดกร่วมกับหลานโดยได้ส่วนแบ่งเท่ากัน  สำหรับบิดาแม้จะเป็นคนต่างชาติต่างประเทศก็มีสิทธิรับมรดกในฐานะคู่สมรสได้เช่นเดียวกันโดย มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรคือได้ส่วนแบ่งเท่ากับลูก

            อันนี้เป็นเรื่องที่มีสิทธิในการรับมรดกตามกฎหมาย แต่การจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เพราะคนต่างชาติ หรือภาษากฎหมายเรียกว่า คนต่างด้าว จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน คือ ต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อถือกรรมสิทธิ์ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน หากไม่ได้รับอนุญาต ก็จะต้องถูกบังคับขายภายใน 180 วัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี

            ประการต่อมา จะสามารถทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่สามีหรือภรรยาคนต่างชาติได้หรือไม่ พินัยกรรมจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ หากมีการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินประเภทที่ดินให้ลูกหรือสามีซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ก็สามารถทำได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ ส่วนการจะถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ก็ยังต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 คืออาจถูกบังคับขายเช่นเดิม แต่การทำพินัยกรรมจะมีผลดีตรงที่สามารถระบุให้ผู้จัดการมรดกขายที่ดินแล้วนำเงินมามอบให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้  เพราะผู้จัดการมรดกสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนทายาทได้ และสามารถดำเนินการจดทะเบียนขายแทนได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ดินให้ยุ่งยาก

            ประการสุดท้าย หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ลูกก็ถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาอยู่แล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกของมารดาในฐานะทายาทโดยธรรมตามกฎหมายได้ ส่วนบิดาไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะคู่สมรสเพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ก็สามารถทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ให้กันได้ ส่วนการจะถือกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือระบุให้ผู้จัดการมรดกขายแล้วมอบเงินให้ก็สามารถทำได้ตามกฎหมายดังกล่าวแล้วข้างต้น


 



ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสิน



          คำพิพากษาศาลฎีกา 475/2511 "ถ้าคนต่างด้าวผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิหรือมีทางที่จะขออนุญาตถือที่ดินได้ พินัยกรรมก็ไม่เป็นโมฆะ  โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก และได้ทำสัญญาประนีประนอมกันว่าจำเลยจะโอนที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในพินัยกรรมเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้รับผิด จึงบังคับตามสัญญาได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ส่วนโจทก์ที่เป็นคนต่างด้าวก็ให้ไปจัดการตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)"

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2543  "โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โดยอ้างว่าเจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินดังกล่าวแล้วใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงสนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ายินยอมให้เจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยหรือไม่ เพราะเจ้ามรดกมิได้ถือกรรมสิทธิ์เอง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

            การที่เจ้ามรดกยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขออนุญาตนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองขณะที่จำเลยยังเป็นผู้เยาว์ เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย และแม้เจ้ามรดกเป็นบุคคลต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต
่เจ้ามรดกยังมีสิทธิได้รับผลตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นได้ ตราบใดที่ยังมิได้จำหน่าย ที่ดินพิพาทและโรงงานก็ยังคงเป็นของเจ้ามรดก ซึ่งอาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดได้ทั้งสิ้น

            จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทตามพินัยกรรม ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ย่อมต้องถือว่าการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น อายุความยังไม่เริ่มต้นนับ ฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังไม่ขาดอายุความ"

            ดังนั้น ตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น สามีหรือภรรยาคนต่างชาติที่สมรสกับคนสัญชาติไทย และบุตรก็มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย และสามารถทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้คนต่างชาติที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด


 


ชมณภัส พลายแก้ว
Guest
collapses@yahoo.com
ตอบ # 1 เมื่อ 5 มกราคม 2558 18:09 น. [แจ้งลบ]
สามีชาวอเมริกา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 2 คน คนโตเป็นผู้หญิง ได้สัญชาติ ไทยอเมริกา ได้พาร์ตพอร์ส อเมริกา คนเล็ก ผู้ชาย อายุ 7เดือน โดยคุณพ่อรับรอง สูติบัตร และได้ทำ พาร์ตพอร์ตไทยโดยคุณพ่อไปเซนต์ชื่อรับรองในการทำพาร์ตพอร์ตไทย ภรรยาไม่ได้สมรส มีเงินฝากในธนาคารอเมริกา จะทำอย่างไรที่ จะนำเงินมาใช้จ่ายในการเลี้งดูลูกและจะร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกของสามี
ชมณภัส พลายแก้ว
Guest
pchomnapass@yahoo.com
ตอบ # 2 เมื่อ 5 มกราคม 2558 18:12 น. [แจ้งลบ]
สามีชาวอเมริกา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 2 คน คนโตเป็นผู้หญิง ได้สัญชาติ ไทยอเมริกา ได้พาร์ตพอร์ส อเมริกา คนเล็ก ผู้ชาย อายุ 7เดือน โดยคุณพ่อรับรอง สูติบัตร และได้ทำ พาร์ตพอร์ตไทยโดยคุณพ่อไปเซนต์ชื่อรับรองในการทำพาร์ตพอร์ตไทย ภรรยาไม่ได้สมรส มีเงินฝากในธนาคารอเมริกา จะทำอย่างไรที่ จะนำเงินมาใช้จ่ายในการเลี้งดูลูกและจะร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกของสามี
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 3 เมื่อ 7 มกราคม 2558 22:19 น. [แจ้งลบ]
ตอบคำถามคุณชมณภัส

        กรณีที่สามีชาวอเมริกาเสียชีวิต และมีทรัพย์มรดกคือเงินฝากในธนาคารอเมริกา การที่จะนำเงินมาใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกนั้นก็ต้องไปดำเนินการที่ศาลในประเทศอเมริกา ไม่สามารถดำเนินการที่ศาลไทยได้ครับ เพราะแต่ละประเทศมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลไทยไม่สามารถนำไปบังคับที่ต่างประเทศให้ต้องจ่ายเงินฝากคืนได้
Piyachut
Guest
wongharn_pin@hotmail.com
ตอบ # 4 เมื่อ 22 กันยายน 2559 00:27 น. [แจ้งลบ]
อยากทราบว่าดิฉันเป็นคนไทยเชื้อชาติและเพิ่งเปลี่ยนสัญชาติตามสามีไม่กี่เดือนมานี้เอง ตอนนี้อยากทราบว่าดิฉันได้รับมรดกซึ่งเป็นที่ดินซึ่งของมารดาดิฉันเองที่เสียชีวิตไปแล้ว และได้โอนที่ดินเป็นชื่อดิฉันเรียบร้อยก่อนที่ดิฉันจะเปลี่ยนสัญชาติ อยากทราบว่าดิฉันยังมีสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นมรดกของมารดาไหมคะ
สวัสดีค่ะ ดิฉันต้องการจะทราบว่า ดิฉันมีสามีเป็นชาวอเมริกา แต่ตอนนี้ได้เสียชีวิตแล้ว แต่มีบุตรด้วยกัน 1 คนตอนนี้อายุ 9 ขวบแล้ว แต่เราไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วก็ไม่ได้จดรับรองบุตร อย่างนี้ควรทำอย่างไรคะ ดิฉันติดต่อไปที่สถานทูต แต่ดิฉันไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกั
Guest
sakornyen33@gmail.com
ตอบ # 5 เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2559 06:35 น. [แจ้งลบ]
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 6 เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2559 16:08 น. [แจ้งลบ]

ตอบคำถามคุณ Piyachut 

       การเปลี่ยนสัญชาติได้มีการสละสัญชาติไทยหรือไม่ หากสละสัญชาติไทย ก็ไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายได้ โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยก่อน 


ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 7 เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2559 16:09 น. [แจ้งลบ]
กรณีมีสามีชาวต่างชาติโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่มีบุตรด้วยกัน ตามกฎหมายถือว่าบุตรเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของคุณเพียงคนเดียว ดังนั้น เมื่อสามีเสียชีวิตจึงไม่ต้องไปทำอะไรทางกฎหมายหรือทางทะเบียนครับ
เรไร
Guest
idin.y@hotmail.com
ตอบ # 8 เมื่อ 12 มกราคม 2560 15:26 น. [แจ้งลบ]
สวัสดีค่ะดิฉัน อยากถามว่าดิฉันจดทะเบียนกับช่าวต่างชาติและเปลี่ยนสัญชาติตามสามี แล้วต่อมามารดาได้เสียชีวิตลง มารดาได้ยกมรดกบางส่วนให้แล้วดิฉันต้องนำเอกสารอะไรบ้างมาประกอบการรับมรดกและโอนมรดกให้น้องสาวอีกคน
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 9 เมื่อ 12 มกราคม 2560 16:01 น. [แจ้งลบ]

ตอบคำถามคุณเรไร 



      ตามมาตรา 15 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495            



                   “ผู้ใดมีสัญชาติไทยและสัญชาติตามกฎหมายของประเทศอื่นด้วย ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้ทำคำขอยื่นต่อรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง           



                   การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้สละสัญชาติไทยนั้น ย่อมอยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรี            



                   การสละสัญชาติไทยให้มีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา            



                   การสละสัญชาติย่อมมีผลเฉพาะตัว”



        ดังนั้น หากคุณเพียงแต่ไปถือสัญชาติของสามีเพิ่มเติมเข้ามา โดยยังไม่ได้สละสัญชาติไทย คุณก็ยังคงมีสถานะเป็นคนไทยที่มีสิทธิถือครองที่ดิน หรือซื้อขายที่ดินในประเทศไทยได้เช่นเดิม แต่หากคุณสละสัญชาติไทยไปครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าคุณเป็นบุคคลต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ครับ


Adpm
Guest
ตอบ # 10 เมื่อ 12 มกราคม 2560 22:20 น. [แจ้งลบ]
รบกวนปรึกษาครับ แม่และน้า มีชื่อร่วมในที่ดินมรดก น้าไปอยู่ต่างประเทศ 40 ปี คุณแม่เสียชีวิต ผมและพี่น้องในฐานะบุตรคุณแม่ จะแบ่งที่ดินแปลงนี้กันอย่างไรได้ ครับ น้ายืนยันคงชื่อร่วมในที่ดิน
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 11 เมื่อ 12 มกราคม 2560 22:44 น. [แจ้งลบ]

ตอบคำถามคุณ Adpm

       แม่และน้า มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จึงมีสัดส่วนคนละ 50 % เมื่อแม่เสียชีวิต ส่วนของแม่ 50 % จะตกทอกไปยังทายาทของแม่คือ บุตร สามี และ บิดามารดาของแม่ (ถ้ายังมีชีวิตอยู่) 

ทายาทของแม่จะต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อนำคำสั่งศาลไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินให้ผู้จัดการมรดกเข้าไปมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมก่อน 

ส่วนการแบ่งกับน้านั้น ตามหลักกฎหมาย เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมีสิทธิขอให้แบ่งแยกโฉนดแปลงนี้ได้ หากน้าไม่ยินยอม ก็คงต้องใช้สิทธิทางศาล ฟ้องเพื่อแบ่งแยกโฉนด ซึ่งเป็นหนทางสุดท้ายที่ควรทำครับ อันดับแรกก็ต้องเจรจากันระหว่างคนในครอบครัวเสียก่อน มิฉะนั้น การฟ้องคดีจะทำให้เสียญาติพี่น้องได้




 
Ruk
Guest
Lovelyruk@hotmail.com
ตอบ # 12 เมื่อ 7 มีนาคม 2560 09:41 น. [แจ้งลบ]
รบกวนสอบถามค่ะ ดิฉันจะขายบ้าน และผู้ซื้อตกลงซื้อด้วยเงินสด แต่ตัวผู้ซื้อเองเป็นต่างด้าวไม่สามารถซื้อได้ จึงจะทำการซื้อในนามของลูกเลี้ยงที่มีบัตรประชาชนซึ่งรับอุปการะเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก(ไม่มีเอกสารรับรองบุตรบุญธรรมใดๆ) ซึ่งพ่อแม่จริงๆของเด็กไม่อยู่แล้ว แบบนี้ควรจะทำยังไงดีคะ
ตอนนี้ทำสัญญามัดจำเงินส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว แต่ติดเรื่องเอกสารผู้ซื้ออย่างเดียว แบบนี้ถ้าทำการซื้อขายไม่ได้ เราจำเป็นต้องคืนเงินมัดจำให้แก่ผู้ซื้อมั้ยคะ เพราะเราพร้อมขายแต่ผู้ซื้อไม่พร้อมด้วยเหตุผลหลายๆประการ
Ruk
Guest
Lovelyruk@hotmail.com
ตอบ # 13 เมื่อ 7 มีนาคม 2560 09:42 น. [แจ้งลบ]
รบกวนสอบถามค่ะ ดิฉันจะขายบ้าน และผู้ซื้อตกลงซื้อด้วยเงินสด แต่ตัวผู้ซื้อเองเป็นต่างด้าวไม่สามารถซื้อได้ จึงจะทำการซื้อในนามของลูกเลี้ยงที่มีบัตรประชาชนซึ่งรับอุปการะเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก(ไม่มีเอกสารรับรองบุตรบุญธรรมใดๆ) ซึ่งพ่อแม่จริงๆของเด็กไม่อยู่แล้ว แบบนี้ควรจะทำยังไงดีคะ
ตอนนี้ทำสัญญามัดจำเงินส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว แต่ติดเรื่องเอกสารผู้ซื้ออย่างเดียว แบบนี้ถ้าทำการซื้อขายไม่ได้ เราจำเป็นต้องคืนเงินมัดจำให้แก่ผู้ซื้อมั้ยคะ เพราะเราพร้อมขายแต่ผู้ซื้อไม่พร้อมด้วยเหตุผลหลายๆประการ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 14 เมื่อ 7 มีนาคม 2560 22:34 น. [แจ้งลบ]

ตอบคำถามคุณ Ruk

          บ้านถือเป็นส่วนควบกับที่ดิน ตามกฎหมายชาวต่างชาติไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านได้ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น จึงไม่สามารถทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กับชาวต่างชาติได้ ซึ่งปกติชาวต่างชาติจะจดทะเบียนตั้งบริษัทมาเพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์แทน หรือทำสัญญาเช่าที่ดินกันในระยะยาว

          ส่วนการที่จะให้ซื้อในนามลูกเลี้ยงนั้น หากเขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็สามารถทำสัญญาซื้อขายกันได้ เพราะเป็นปัญหาระหว่างฝรั่งกับลูกเลี้ยงที่อาจมีการทุจริตกันเอง แต่หากยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ไม่สามารถซื้อขายได้ ซึ่งหากเป็นกรณีที่ซื้อขายไม่ได้ก็ต้องมีการเลิกสัญญาต่อกัน ส่วนคุณจะมีสิทธิริบมัดจำหรือไม่ ต้องดูสัญญาซื้อขายที่ทำกันไว้เป็นหลักครับ


บุตรที่เกิดจากแม่เป็นคนไทยพ่อต่างชาติ สามารถนำชื่อเข้าทำเบียนบ้านในไทยได้หรือเปล่า แม่มีบัตรประชาชนของไทย และหากเอาชื่อเข้าทำเบียนบ้านแล้ว บุตรชายอายุ 24 ปี ต้องไปคัดเลือกทหารหรือเปล่า หากแม่ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้บุตร ต้องขายภายใน 1 ปีหรือเปล่าครั
Guest
waew_pp@yahoo.com
ตอบ # 15 เมื่อ 31 พฤษภาคม 2560 15:15 น. [แจ้งลบ]
ปู
Guest
phantula2000@yahoo.com
ตอบ # 16 เมื่อ 27 มิถุนายน 2560 17:11 น. [แจ้งลบ]
สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามค่ะ ดิฉันแต่งงานกับสามีชาวอเมริกาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย มีบุตรด้วยกัน1คน สามียังทำงานอยู่ที่อเมริกา ไปๆมาๆ ปีละ 2-3ครั้ง ดิฉันต้องการที่จะทำพินัยกรรมยกเงินฝากในธนาคารให้กับสามีในกรณีที่ดิฉันเสียชีวิต สามารถที่จะทำได้ไหมคะ และจะมีผลบังคับใช้ได้หรือเปล่า ขอบพระคุณมากค่ะ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 17 เมื่อ 9 กรกฎาคม 2560 23:37 น. [แจ้งลบ]
ตอบคำถามคุณ waew_pp

           ตามคำถามลูกคุณอายุ 24 ปีแล้ว ไม่ได้บอกมาด้วยว่าปัจจุบันเลือกถือสัญชาติอะไร แต่หากกรณีที่บุตรของคุณถือสัญชาติไทย  ก็สามารถแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าไปได้ 
(ไม่บอกว่าบุตรมีบัตรประชาชนไทย)  

          การคัดเลือกทหารไม่ใช่ต้องมาทำตอนเอาชื่อเข้าทะเบียนบ้านนะครับ เขาต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลงบัญชีทหารกองเกินตั้งแต่อายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว หากไม่ได้ไปลงทะเบียนก็ไปพบสัสดีอำเภอเพื่อดำเนินการต่อไปจนถึงขั้นการคัดเลือกได้

         ส่วนการถือครองทรัพย์สินนั้น หากบุตรคุณถือสัญชาติไทยก็สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากคุณได้


        สรุปถือสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นสาระสำคัญของคำตอบทั้งหมด


 
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 18 เมื่อ 9 กรกฎาคม 2560 23:39 น. [แจ้งลบ]
ตอบคำถามคุณปู

       สามารถทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้สามีคนต่างชาติได้ครับ เป็นเงินจะง่ายที่สุด แต่หากเป็นที่ดิน สามารถรับมรดกได้ แต่จะต้องถูกบังคับขายภายใน 1 ปี เพราะต่างชาติไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ 
กิ๊บ
Guest
Amphansalmon11@gmail.com
ตอบ # 19 เมื่อ 8 สิงหาคม 2560 21:34 น. [แจ้งลบ]
สวัสดีค่ะขออนุญาติสอบถามค่ะ
สามีชาวอเมริกาได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย
อยู่ดวยกัน15ปีมีบุตรด้วยกัน1คน
ถือพาสปอร์ตไทย&อเมริกาสามีเกษียณอายุแล้วต้องการอยู่ไทยกับครอบครัว สามีต้องการทำพินัยกรรมยกเงินค่าบำนาญ,เงินประกัน,เงินธนาคารทั้งหมดให้ดิฉันกับลูกได้รับช่วงต่อในกรณีที่สามีเสียชีวิต,สามารถทำพินัยกรรมที่ไทยได้ไหมค่ะ
และจะมีผลบังคำใช้ได้หรือเปล่าค่ะ
ขอบคุณค่ะ
กิ๊บ
Guest
Amphansalmon1@gmail.com
ตอบ # 20 เมื่อ 8 สิงหาคม 2560 21:43 น. [แจ้งลบ]
สวัสดีค่ะขออนุญาติสอบถามค่ะ
สามีชาวอเมริกาได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย
อยู่ดวยกัน15ปีมีบุตรด้วยกัน1คน
ถือพาสปอร์ตไทย&อเมริกาสามีเกษียณอายุแล้วต้องการอยู่ไทยกับครอบครัว สามีต้องการทำพินัยกรรมยกเงินค่าบำนาญ,เงินประกัน,เงินธนาคารทั้งหมดให้ดิฉันกับลูกได้รับช่วงต่อในกรณีที่สามีเสียชีวิต,
สามารถทำพินัยกรรมที่ไทยได้ไหมค่ะ
และจะมีผลบังคำใช้ได้หรือเปล่าค่ะ
ใหม่
Guest
k_clash@hotmail.com
ตอบ # 21 เมื่อ 2 กรกฎาคม 2561 15:34 น. [แจ้งลบ]
ผู้ตายได้เปลี่ยนจากสัญชาติเมียนม่ามาเป็นสัญชาติไทย แต่บิดามารดาของผู้ตายถือสัญชาติเมียนม่า บิดามารดาของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกมั้ยคะ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 22 เมื่อ 6 กันยายน 2561 11:02 น. [แจ้งลบ]
ประกาศทราบ

ช่วงนี้ทนายความไม่ได้เข้ามาตอบคำถามบ่อย หากมีปัญหากฎหมายที่ต้องการคำตอบเร่งด่วน รบกวนส่งคำถามมาที่อีเมลล์ phuwarinlawyer@hotmail.com หรือโทรศัพท์ หรือแอดไลน์มาพูดคุยสอบถามเบื้องต้นได้ก่อนนะครับ 

เบอร์โทร-ไอดีไลน์ 081-9250-144 (ใส่ - ด้วย)

ขวัญ
Guest
kwanusa18@aol.com
ตอบ # 23 เมื่อ 22 กันยายน 2561 22:29 น. [แจ้งลบ]
รบกวนด้วยคะ..
แต่งงานจดทะเบียนสมรสกะสามีชาวอเมริกันยังไม่มีลูกด้วยกัน แต่ไม่ได้จดที่ประเทศไทย...ทางแม่จะยกมรดกให้เป็นที่ดิน(แบ่งกัน3คนพี่น้อง ลงชื่อรวมกัน)
1. ต้องบอกทางกรมที่ดินไหมว่าแต่งงานกะคนต่างชาติ
2. ถ้าเกิดตาย ไม่อยากสามีต่างชาติมาขอรับมรดกด้วย ต้องทำยังไง อยากให้มรดกอยู่กันในสายเลือดเท่านั่น(ไม่ว่าจะเป็นสามีน้อง หรือภรรยาน้อง) แต่ให้ตกกะทายาทได้เท่านั้น
3. ถ้าตัวเองเกิดมีลูกกะสามีต่างขาติ ถ้าลูกมีพาสปอร์ตไทย(ตั้งใจจำทำ).ลูกสามารถรับมรดกได้ไหม และถ้าลูกอายุไม่ถีง18 ต้องทำยังไง
ขอบคุณล่วงหน้ามากๆคะ
ถ้ามีค่าใช้จ่ายยังไงบอกทางอีเมล์ได้นะคะ
Kwanusa18@aol.com
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 24 เมื่อ 28 กันยายน 2561 21:37 น. [แจ้งลบ]
ตอบคำถามคุณขวัญดังนี้

        1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเกี่ยวกับสินสมรส (ไม่ใช่สินส่วนตัว) ที่สามีภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง         

          มาตรา 1476   "สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้

          (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

          (2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

          (3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

          (4) ให้กู้ยืมเงิน

          (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

          (6) ประนีประนอมยอมความ

          (7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

          (8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

          การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง"

        ดังนั้น การรับมรดกในระหว่างสมรส ถือเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสตามกฎหมายอยู่แล้ว  จึงไม่จำเป็นต้องแจ้งเรื่องการจดทะเบียนสมรส

        2. หลักกฎหมายเกี่ยวกับการรับมรดกของคู่สมรส

        ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้

        (1) ถ้าผู้ตายมีทายาทชั้นผู้สืบสันดาน ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร คือ ได้รับส่วนแบ่งเท่ากับบุตร

        (2) ถ้าผู้ตายมีทายาทชั้นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

        (3) ถ้าไม่มีทายาทชั้นบุตร แต่มีทายาทชั้น บิดามารดาของผู้ตาย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

        (4) ถ้ามีทายาทชั้นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน หรือชั้นลุงป้าน้าอา หรือชั้นปู่ย่าตายาย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม

        (5) ถ้าไม่มีทายาทรับมรดกเลย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

        ดังนั้น ถ้าหากคุณไม่ต้องการให้สามีชาวต่างชาติรับมรดก ก็ต้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่นตามที่คุณอยากให้

        3. หากคุณมีลูกกับสามีต่างชาติ ไม่ว่าบุตรจะมีหนังสือเดินทางไทยหรือไม่ บุตรก็มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายไทยอยู่แล้ว เพราะกฎหมายถือตามสายเลือด  และการรับมรดกไม่เกี่ยวกับอายุเท่าใด หรือต้องมีอายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ก่อนจึงจะมีสิทธิรับ บุตรที่เกิดมาแล้วอายุไม่ถึงขวบก็มีสิทธิรับมรดก เพียงแต่วิธีการรับต้องมีบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แสดงเจตนาแทนตามกฎหมาย และหากบุตรไม่มีสัญชาติไทยก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการรับมรดกของชาวต่างชาติเสียก่อนจึงจะรับได้ ซึ่งเป็นเฉพาะกรณีอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ส่วนทรัพย์สินอื่นๆก็สามารถรับได้อยู่แล้ว
ดอกมะลิ
Guest
ตอบ # 25 เมื่อ 3 มกราคม 2566 20:09 น. [แจ้งลบ]
สวัสดีค่ะ
ดิฉันแต่งงาน จดทะเบียนกับสามีชาวญี่ปุ่น ลูกคลอดที่ไทย เดินทางมาอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นปัจจุลูกอายุ 17 ปี
ยังไม่ได้ขอมีบัตรประชาชนค่ะ

อยากทราบว่ามีความจำเป็นหรือ ข้อดีข้อเสียของการที่ลูกทำบัตรประชนขนไทยรึไม่คะ
กลัวลูกจะเสียสัญชาติญี่ปุ่น แต่ก็กลัวลูกไม่มีสิทธิ์ได้รับมกดก(ที่ดิน) จากแม่

เคยเปิดบัญชีฝากเงินในบัญชีลูกโดยใข้พาสปอร์ตเล่มที่ทำก่อนเกณฑ์ทำบัตรประชนขน แต่ปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการใดๆได้เพราะพาสหมดอายุ (จะต่ออายุ/ทำพาสใหม้ได้ต้องทำบัตรประชาชนก่อน) แสดงว่าถ้าจะทำธุรกรรมใดๆให้ลูกต้องมีบัตรประชาชนเท่านั้นใช่มั้ยคะ

ขอโทษถ้าอาจจะฟังดูสับสน
บัวทิพย์
Guest
bourtiplp@gmail.com
ตอบ # 26 เมื่อ 26 มกราคม 2566 09:05 น. [แจ้งลบ]
รบกวนถามคะญาติคือ​หญิงไทยอยู่กับสามีที่ประเทศเดนมากร์ได้ประมาณ​30ปีมาแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน​แต่ญาติมีลูกกับสามีคนก่อนซึ่งเป็นชาวสวีเดน​ 1 คน​แต่ตอนนี้ญาติได้เสียชีวิตที่เดนมากร์ อยากถามว่า​ สามีคนปัจจุบันจะมีสิทธิ์รับมรดกในประเทศไทยหรือไม่คะ



Reply ตอบกลับกระทู้

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

    แนบไฟล์ :
(ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2 MB.)
    ผู้เขียน : *
    E-mail : *
 ไม่ต้องการแสดง E-mail
    รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป
Copyright by www.phuwarinlawyer.com
Engine by MAKEWEBEASY